This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วอชิงตันโพสต์แฉ มะกัน-ยิว ร่วมพัฒนาไวรัส เฟลม เจาะข้อมูลอิหร่าน




รอยเตอร์ - สหรัฐฯ และอิสราเอลร่วมกันพัฒนาไวรัสคอมพิวเตอร์ “เฟลม” (Flame) เพื่อสืบข้อมูลข่าวกรองที่จะช่วยให้ตะวันตกสามารถชะลอความก้าวหน้าในโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านได้ หนังสือพิมพ์ วอชิงตัน โพสต์ รายงานเมื่อวานนี้ (19) โดยอ้างข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตะวันตกซึ่งไม่เปิดเผยชื่อ
       
       “เฟลม” เป็นมัลแวร์ที่ถูกออกแบบเพื่อระบุโครงข่ายและจับตาคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่อิหร่าน โดยจะรวบรวมข้อมูลลับที่ช่วยให้สภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (เอ็นเอสเอ), สำนักงานสอบสวนกลาง (ซีไอเอ) และกองทัพอิสราเอล สามารถทำสงครามไซเบอร์ขัดขวางกิจกรรมนิวเคลียร์ของเตหะรานได้ ซึ่งโครงการที่ว่านี้ยังใช้หนอนคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “สตักซ์เน็ต” (Stuxnet) ซึ่งเคยสร้างความปั่นป่วนให้แก่โรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียมของอิหร่านมาแล้ว
       
       เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก ยืนยันกับรอยเตอร์ว่า สหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาไวรัสเฟลมขึ้นมาจริง
       
       ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า เนื่องจากเฟลมเป็นไวรัสซึ่งทำหน้าที่ “รวบรวมข่าวกรอง” โดยมิได้ทำลายระบบคอมพิวเตอร์ของฝ่ายศัตรู การพัฒนาไวรัสชนิดนี้จึงไม่ต้องผ่านการทบทวนนโยบายและข้อกฎหมายที่เข้มงวดของสหรัฐฯ เหมือนเช่นโครงการอาวุธไซเบอร์อื่นๆ
       
       ซีไอเอ, เอ็นเอสเอ, เพนตากอน และสำนักงานผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับรายงานนี้
       
       เฟลม นับเป็นไวรัสเจาะข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุดเท่าที่โลกเคยพบมา โดย 2 บริษัทด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ แคสเปอร์สกี แล็บ และไซแมนเท็ก คอร์ป ชี้ว่า โค้ดของไวรัสตัวนี้มีความเชื่อมโยงกับหนอนสตักซ์เน็ต ที่เชื่อกันว่าสหรัฐฯ และอิสราเอลเคยส่งไปโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ของโรงงานนิวเคลียร์อิหร่านเมื่อปี 2010...


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th  : 20 มิถุนายน 2555 16:27 น.



วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ลอยแพพยาบาล ละเลยหรือเจตนาสร้างระบบการรักษาสองมาตรฐาน

พยาบาลวิชาชีพ บุคลากรสำคัญหลายหมื่นชีวิตทั่วประเทศที่รัฐบาล, กระทรวงสาธารณสุข และกพ.ไม่ให้การเหลียวแล (ภาพประกอบจากไทยรัฐออนไลน์)
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ลอยแพพยาบาล ละเลยหรือเจตนาสร้างระบบการรักษาสองมาตรฐาน, 

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - หมอชนบทกระทุ้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้หันมาแก้ไขปัญหากลุ่มพยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร ลูกจ้างชั่วคราวใน รพ.ชุมชนทั่วประเทศหลายหมื่นคนที่ถูกละเลยไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ กระทั่งเกิดภาวะสมองไหลสู่ รพ.เอกชนราวกับรัฐบาล-สธ.-ก.พ.สมคบคิดสร้างระบบการรักษาสองมาตรฐาน คนจนหมดสิทธิ์เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพแต่ราคาแพง จวกรัฐบาลดีแต่โม้ทำเพื่อพี่น้องรากหญ้าแต่กลับตัดงบระบบประกันสุขภาพลงถึง 5 หมื่นล้าน
       
       นพ.พรเทพ โชติชัยสุวัฒน ชมรมแพทย์ชนบท นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเวชศาสตร์เขตร้อน เมืองอันเวิร์ป ประเทศเบลเยียม เขียนบทความที่เปิดเผยถึงความไม่เป็นธรรมในระบบการบรรจุข้าราชการในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน ดังเช่น กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร ลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่ประเทศไทยมีข้อตกลงกับไอเอ็มเอฟเมื่อคราวเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 หรือวิกฤตต้มยำกุ้ง
       
       ปัญหานี้ถูกละเลยมานานกระทั่งกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต เมื่อคนเหล่านี้ซึ่งมีจำนวนหลายหมื่นคนทั่วประเทศถูกละเลย ทอดทิ้ง จนมีการลาออกไปอยู่กับโรงพยาบาลเอกชนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามแรงดึงดูดคนจากภาครัฐเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน และก้าวสู่การเป็น “เมดิคัลฮับ” ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเต็มที่ ซึ่งนั่นหมายถึงผลกระทบต่อคนยากจนในชนบทที่เข้าไม่ถึงบริการที่มีคุณภาพแต่ราคาแพงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
       
       ข้อเขียนของ นพ.พรเทพบรรยายว่า จากข่าวที่กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ ลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุขมาชุมนุมเพื่อร้องขอความเป็นธรรมให้เร่งบรรจุตำแหน่งข้าราชการให้แก่ลูกจ้างใน รพ.ชุมชนทั่วประเทศต่อกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเคยร้องเรียนผ่านหลายหน่วยงานแต่ไม่เป็นผล ซึ่งหากยังไม่คืบหน้าอาจมีการนัดชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศต่อไป
       
       ปัญหาที่เกิดขึ้นเรื้อรังมาจากผลพวงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2540 เมื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เข้ามาประเมินระบบราชการไทยในฐานะเจ้าหนี้ พบว่าระบบมีจำนวนข้าราชการมากเกินไป จึงมีการจำกัดการบรรจุข้าราชการแบบเหมารวม ขาดวิจารณญาณในการแยกแยะว่าส่วนใดที่เกินแล้ว ส่วนใดที่ยังขาดอยู่
       
       ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงถูกผลกระทบอย่างรุนแรง ทำให้ไม่สามารถบรรจุ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร ต้องหันมาใช้คำว่าพนักงานราชการแทน จนต่อมาเริ่มมีตำแหน่งมากขึ้นแต่ก็เพียงพอแค่การบรรจุแพทย์ และทันตแพทย์เท่านั้น ส่วนพยาบาล, เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ประเภทอื่นๆ ได้บรรจุเพียงเล็กน้อยจากการรอตำแหน่งว่างจากผู้เกษียณเท่านั้น
       
       จากข้อมูลของสภาการพยาบาล ในการเปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ในระหว่างปี 2549-2553 จำนวนพยาบาลวิชาชีพทำงานเต็มเวลาในโรงพยาบาลเอกชน เพิ่มจาก 11,000 คน เป็น 15,000 คน เป็นการเพิ่มถึงร้อยละ 36.36 ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งการเข้าสู่งานในภาคเอกชนของพยาบาลวิชาชีพปีละประมาณ 1,000 คน
       
       สภาการพยาบาลคาดว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้าภาคเอกชนจะต้องการพยาบาลถึง 20,000 คน เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ต้องการได้รับการรับรองคุณภาพจาก JCI ที่กำหนดให้มีการจัดอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยตามมาตรฐานบริการพยาบาลสากล ซึ่งมาตรฐานอัตรากำลังของพยาบาลไทยต่ำกว่าที่กำหนดของมาตรฐานวิชาชีพอยู่ถึงร้อยละ 30 
       
       ในทางตรงกันข้าม กระทรวงสาธารณสุขปัจจุบันมีพยาบาลที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวประมาณ 18,000 คน และยังขาดแคลนทั่วประเทศอยู่อีกประมาณ 33,112 คน ซึ่งการขาดแคลนก็จะทำให้ผู้ที่อยู่ในระบบต้องทำงานหนักขึ้น เสี่ยงต่อความผิดพลาด ไม่ปลอดภัยต่อผู้ป่วย
       
       การที่พยาบาลถูกละเลยไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการ ทำให้มีการลาออกไปสู่ภาคเอกชน โรงพยาบาลขนาดใหญ่ในเขตเมืองมากขึ้น หรือออกไปทำงานต่างประเทศมากขึ้นหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economy Community : AEC) ในปี พ.ศ. 2558 ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งมีการปรับตัวอย่างไร้ทิศทางเพื่อให้สามารถดึงดูดให้พยาบาลเข้ามาทำงาน และรักษาคนไว้ในระบบ โดยเฉพาะการเพิ่มอัตราเงินเดือน และค่าตอบแทนต่างๆ ในโรงพยาบาลในเมืองให้ทัดเทียมภาคเอกชน ทำให้ขาดแรงจูงใจที่คนจะไปทำงานในเขตชนบทเพราะค่าตอบแทนที่ต่ำกว่า 
       
       ซึ่งหากปล่อยให้การแข่งขันในกลไกตลาดแรงงานดำเนินต่อไป อาจทำให้เกิดการบริการสองมาตรฐานระหว่างภาครัฐ และเอกชน ที่ภาครัฐไม่แสดงภาวะผู้นำ ความรู้ความสามารถในการแทรกแซงแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ก็จะทำให้สถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถจัดบริการได้ตามมาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพของประชาชนไทยที่ฐานะยากจน ไม่มีกำลังจ่าย โดยเฉพาะในเขตชนบทที่ห่างไกล
       
       แต่เป็นที่น่าผิดหวังอย่างมาก เมื่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน มุ่งให้ความสนใจแต่เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การพัฒนาเมดิคัลฮับ (medical hub) และการทำโครงการที่เพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐโดยไม่จำเป็น เช่น โครงการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในราคาที่สูงเกินไป หนำซ้ำยังตัดงบประมาณรายจ่ายสำหรับการประกันสุขภาพในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ลงจากเดิม 5 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 5 หมื่นล้านบาท
       
       จากความเรื้อรังของปัญหาดังกล่าวนั้น ราวกับว่ารัฐบาล, ก.พ. และกระทรวงสาธารณสุขสมรู้ร่วมคิด ยินยอมพร้อมใจไปด้วย หรือไม่ก็เกิดจากการปล่อยปละละเลยของทั้งฝ่ายการเมือง และข้าราชการประจำ คือ ก.พ. และความมุ่งมั่นที่ไม่เพียงพอของผู้นำกระทรวงสาธารณสุข ผลร้ายย่อมตกแก่พี่น้องประชาชนที่มีรายได้น้อย ซึ่งไม่สามารถไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนได้
       
       ดังนั้น เพื่อแสดงความจริงใจ และศักยภาพของรัฐบาลที่นำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ควรเร่งรัดแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชน
        
       โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีรายได้น้อย และอาศัยในเขตชนบทได้มีโอกาสเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพจากสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข ตามที่พรรคเพื่อไทยได้กล่าวอ้างในการหาเสียงเลือกตั้งมาโดยตลอด โดยการแสดงภาวะผู้นำและความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาการคงอยู่และกระจายของพยาบาลวิชาชีพในสถานบริการระดับต่างๆของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นระบบ เป็นธรรม สร้างสรรค์ เป็นที่ยอมรับอย่างเร่งด่วนต่อไป...


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th : 18 มิถุนายน 2555 21:44 น.


รัฐบาล-ทหาร-สภาฯ และฐานทัพ

"กวม" เป็นเกาะเล็กๆ ที่อยู่ใต้การควบคุมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก แม้จะมีขนาดกระจ้อยร่อย พื้นที่กินอาณาบริเวณแค่ 500 กว่าตารางกิโลเมตร ประชากรก็มีอยู่เพียงแสนคนเศษ แต่ถ้าวัดกันจากขุมพลังทาง "การทหาร" แล้วจะพบว่า ไม่ได้เล็กเหมือนกับขนาดของเกาะเลย!
โดย...เปลว สีเงิน
พวกเราจะเชื่อใคร ระหว่าง "ยิ่งลักษณ์-สุรพงษ์-สุกำพล-ปลอดประสพ" ที่บอกนาซาจะขอใช้อู่ตะเภาขึ้นบินดูลม ๒ เดือนเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการทหาร กับที่ "นายลีออน พาเนตตา" รมว.กลาโหมสหรัประกาศที่สิงคโปร์...สหรัจะจัดสมดุลอำนาจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกนี้ใหม่ ด้วยการย้ายที่ตั้งกองกำลังทหาร และกองทัพเรือ ๖๐% กลับมาประจำการในภูมิภาคของเพื่อนเก่าอีกครั้ง!
    เพียงไม่ได้ระบุให้ชัดลงไปเท่านั้นว่า ที่จะกลับเข้ามาตั้งฐานทัพในภูมิภาคนี้นั้น ก็เพื่อ "คานอำนาจ" กับจีน เพราะถ้าขืนปล่อยให้จีนเป็น "ขาใหญ่" คุมภูมิภาคนี้ 
    สหรัฐมีโอกาส...เดี้ยง!
    เพราะไทยเป็น "จุดยุทธศาสตร์" การขนส่งน้ำมันและสินค้าทางทะเลจากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทะลุสู่มหาสมุทรแปซิฟิก เป็นตัว "ย่นโลก" ในการขนส่งจากตะวันออกกลางสู่ประเทศแถบแปซิฟิกทั้งหมด โดยเฉพาะสหรัฐ
    ก็ตรง "ช่องแคบมะละกา" ปลายติ่งที่เชื่อมไทย-มาเลย์-สิงคโปร์ นั่นไง!
    การลำเลียงน้ำมันจากอ่าวเปอร์เซีย ผ่านช่องแคบฮอร์มุซ มหาสมุทรอินเดียนั้น การจะไปสู่ปลายทางของประเทศของอีกฝั่งมหาสมุทรหนึ่งคือ แปซิฟิกและคาบสมุทรอินโดจีนทั้งหมด ต้องมา "ลอดช่องแคบ" จากตรงนี้ 
    และถ้าวันไหน "จีน-สหรัฐ" เกิดงัดข้อกันขึ้นมา แค่จีน "คุมเชิง" ไม่ให้เรือบรรทุกน้ำมันสหรัฐผ่านช่องแคบมะละกาแค่นั้น
    ถ้าเรือรบ-เรือบินสหรัฐ ใช้น้ำทะเลแทนน้ำมันได้ นั่นก็แล้วไป! 
    นี่คือสาเหตุที่ทั้งนาซา-เพนตากอน ต้องมาเสนอเงื่อนไขกับรัฐบาลทักษิณ ขอใช้อู่ตะเภา เพราะคุณสมบัติพิเศษของอู่ตะเภาเป็น ๒ เพศ เป็นท่าจอดเรือรบก็ได้ เป็นสนามบินที่เครื่องเล็ก-ใหญ่ขึ้นลงได้ทั้งนั้น 
    นาซามาในมาดนักวิจัยลม ส่วนเพนตากอนมาในมาดปิศาจคราบนักบุญ  อ้างมนุษยธรรม ฝนตก-น้ำท่วมที่ไหนจะได้แจวเรือรบไปช่วย!
    รัฐบาลน้องสาวทักษิณเขาเชื่อ สุกำพลรัฐมนตรีกลาโหมเพื่อทักษิณ เขาก็เชื่อ แต่ดูเหมือนเหล่าทัพทั้งหลาย "ไม่อยากจะเชื่อ" รวมทั้ง ส.ส.และ ส.ว.ที่ไม่ใช่ทาสระบอบทักษิณ เขาอยากให้รัฐบาลนำเรื่องเข้ารัฐสภาพิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙๐
    แต่รัฐบาล โดยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศเพื่อทักษิณ บ่ายเบี่ยง อ้างว่ากฤษฎีกาดูแล้วบอก ไม่เข้าข่าย ๑๙๐ วรรค ๒ คือไม่ต้องให้รัฐสภาพิจารณา 
    แค่ให้ ครม.ทักษิณเห็นชอบวันนี้ (๑๙ มิ.ย.๕๕) ก็พอแล้ว!?
    เอาล่ะ...อาจแค่ให้ใช้ดูลมตาที่รัฐบาลบอกก็ได้ แต่ก็นั่นแหละ รัฐบาลที่ไม่มีเครดิตให้ประชาชนเชื่อถือ พูดอะไร ใครก็ไม่เชื่อ ผมอยากให้ติดตามอ่านที่ท่านอาจารย์ "เขียน ธีรวิทย์" แจงประเด็นไว้ที่หน้า ๔ ไทยโพสต์ มีทั้งหมด ๕ ตอน  อย่าพลาดเชียว
นับตั้งแต่ยุคหลังเกิดเหตุช็อกโลก สมาชิกกลุ่มก่อการร้าย "อัล ไคด้า" ของนายโอซามา บิน ลาเดน ก่อวินาศกรรมโจมตีผืนแผ่นดินสหรัฐ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ผสมผสานกับกระแสต่อต้านฐานทัพสหรัฐของ "คนท้องถิ่น" ในหลายชาติทั่วเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ กองทัพสหรัฐจึงค่อยๆ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ทางทหารในภูมิภาค "เอเชีย-แปซิฟิก" ครั้งใหญ่ เพิ่มทั้งกำลังทหารและขนอาวุธไฮเทคน้อยใหญ่ เข้าไปประจำการในฐานทัพบนเกาะกวมอย่างต่อเนื่อง


    และพอดี คุณ thanong khanthong (thanongkhanthong@gmail.com)  ได้สรุปประเด็นเป็นการ "ขมวดปัญหาโลก" ในเรื่อง "ไม่รู้ผู้ก่อการร้ายมาฝังตัวบ้านเราหรือยัง สถานการณ์น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง" มาให้อ่านตั้งแต่วันเสาร์  เพื่อเห็นโลก-เห็นปัญหากว้างขึ้น ขออนุญาตนำเผยแพร่ ดังนี้
    "Panel to discuss use of U-Tapao - The Nation"  
    เอาจนได้ ประวัติศาสตร์กำลังจะย้อนรอย ขณะนี้ซีเรียกำลังจะเป็นสมรภูมิแล้ว เพราะว่ากองกำลังทหารต่างชาติหมื่นกว่านายได้แทรกซึมเข้าไปในประเทศเรียบร้อยแล้ว
    กองกำลังทหารต่างชาติและกบฏภายในประเทศพยายามจะล้มประธานาธิบดีอาซัด โดมิโนตัวสำคัญ ก่อนที่จะลุยอิหร่านเป็นรายต่อไป  เหมือนๆ กับที่ได้ล้ม ลิเบีย อิรัก อัฟกานิสถาน มาแล้ว
    แต่จะล้มซีเรียคงจะไม่ง่าย เพราะว่าจีนและรัสเซียได้ออกมาเตือนว่า ถ้าซีเรียถูกรุกรานจากภายนอก จะส่งกองกำลังไปช่วย
    ความตึงเครียดในตะวันออกกลางกำลังพุ่งสู่จุดอันตราย เพราะมีโอกาสมากที่สงครามจะขยายวงกว้าง กระทบมาถึงประเทศไทยด้วย
    อิหร่านจะต้องช่วยยันซีเรียให้ถึงที่สุด ก่อนที่ตัวเองจะเป็นเป้ารายต่อไปของอภิมหาสงครามที่กำลังก่อตัวทะมึนอยู่ข้างหน้า
    ซีเรียสนับสนุนกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ มุสลิมปีกหัวรุนแรงที่เลบานอน ซึ่งเป็นศัตรูหลักของอิสราเอล ฮิซบุลเลาะห์ต้องการทำลายยิวให้สิ้นซาก ยิวก็อยากจะบุกบอมบ์อิหร่านให้รู้แล้วรู้รอด
    ที่ระเบิดขาขาดก่อการร้ายในซอยปรีดี สุขุมวิท 71 เมื่อต้นปีนี้ ยิวบอกว่าเป็นพวกฮิซบุลเลาะห์ต้องการทำลายยิวในไทย สุดท้ายเรื่องก็เงียบไปเหมือนเป่าสาก
    ทั้งยิว ซีเรีย อิหร่าน ต่างกำลังเผชิญหน้ากันอย่างตึงเครียด โดยมีมหาอำนาจคอยหนุน แบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจน ใครดี-ใครอยู่ คงได้เห็นกันในเร็ววันนี้  แต่ประเด็นที่สำคัญ ถ้าสหรัฐและพันธมิตรบุกซีเรีย ไทยจะถูกดึงเข้าไปร่วมวงด้วย


    เพราะว่าสหรัฐจำต้องใช้อู่ตะเภาเป็นฐานบำรุงกำลัง โลจิสติกส์ เป็นที่เติมน้ำมัน ใช้ดาวเทียมเพื่อบังคับเครื่องบินไร้คนขับ เชื่อมโยงกับสงครามอิหร่านที่จะตามมา และการปิดล้อมจีนในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยกำลังเป็นจุดศูนย์กลางที่สำคัญในภูมิภาคนี้ ในอภิสงครามที่กำลังก่อตัวขึ้น
    Thai-US Panel to discuss use of U-Tapao - The Nation ข่าวนี้เป็นข่าวสำคัญที่กำลังจะตัดสินความเป็นความตายของประเทศไทย เพราะดูเหมือนรัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังยอมให้สหรัฐใช้อู่ตะเภาเป็นฐานในการทำอภิมหาสงคราม 
    เรื่องความร่วมมือป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติระหว่างไทยและสหรัฐที่อู่ตะเภาเป็นนิทานหลอกเด็ก ขณะนี้ได้ข่าวว่า ทางสหรัฐอเมริกาเริ่มขนคน  อุปกรณ์ทางทหารเข้ามาประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีการตรวจสอบ
    ผู้นำอิหร่านได้ประกาศก้องว่า "มือผู้ใดที่ทำร้ายมุสลิม มือผู้นั้นจะถูกตัดให้ขาด" ไม่รู้ว่าคนที่เซ็น MOU เรื่องอู่ตะเภากับสหรัฐ รู้เรื่องนี้หรือเปล่า จีนก็ออกมาเตือนไทยอย่างลับๆ ว่า
    "ไทยยังคงเป็นมิตรกับจีนหรือเปล่า?"
    รัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังนำพาประเทศไทยเข้าสู่มหันตภัย เพราะว่าเรากำลังเลือกข้าง แทนที่จะวางตัวเป็นกลางในอภิมหาสงครามที่กำลังจะเกิดขึ้น
    เขมรฉลาดกว่าไทยเยอะ มือซ้ายรับความช่วยเหลือจากจีน มือขวาก็รับจากสหรัฐ เล่นได้ทั้งนั้น อินเดียบอกกับสหรัฐอย่างไม่เกรงใจว่า "ยูอยากจะรบกับจีนก็เรื่องของยู แต่อย่าเอาไอไปเกี่ยวข้องด้วย" แถมบอกด้วยว่า "ห้ามเอาดินแดนหรือทะเลของไอเป็นฐานของยูในการรบกับจีน"!
    สหรัฐถึงกับใบ้รับประทาน!
    แต่ไทยกำลังทำตัวไร้เดียงสา ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ช้างสารกำลังจะฟัดกัน เราเป็นมด ต้องรู้จักหลบหลีกในหญ้าแพรก ได้ข่าวว่า ทหารกลุ่มหนึ่งได้เข้าพบยิ่งลักษณ์เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วย ที่เราจะยอมให้สหรัฐใช้อู่ตะเภาเป็นฐานทัพ
    แต่คงจะไม่มีผลอะไรมาก เพราะว่าน้องสาวทักษิณคนนี้ได้ตัดสินใจแล้ว  เป็นเรื่องประโยชน์เฉพาะตนทั้งนั้น คือ 1.อยู่ฝ่ายสหรัฐได้ประโยชน์ 2. มีสหรัฐหนุนเสถียรภาพของรัฐบาล
    คอบราโกลด์ที่เราจะฝึกทหารร่วมกับสหรัฐและพันธมิตรเพื่อนบ้านที่เมืองไทย จะเป็นจุด "หัวเลี้ยวหัวต่อ" ที่สำคัญ เพราะสหรัฐจะส่งทหารเข้าร่วมฝึกเต็มพิกัด รวมทั้งขนอาวุธเข้ามาอู่ตะเภาด้วย
    @paisalvision : การฝึกคอบราโกลด์ที่ภาคเหนือเที่ยวนี้มาแปลก สหรัฐขนทหารเข้ามากที่สุดจาก ๕,ooo คน เป็น ๓๐,๐๐๐ คน และมีทหารยิวอีก ๕,ooo  คน อาวุธหนักเพียบ มาแล้วคงจะอยู่ยาวเลย?
    ตอนที่ไทยอนุมัติให้สหรัฐใช้ฐานทัพอู่ตะเภาสมัยรัฐบาลถนอม ก็ตกลงกันแค่กระดาษแผ่นเดียว ไปๆ มาๆ ประเทศไทยกลายเป็นฐานทัพของสหรัฐในการถล่มอินโดจีน มีเครื่องบิน B-52 สามารถบรรทุกระเบิดได้ 300 ตัน มาลงเติมน้ำมัน ตอนนั้นเราไม่มีอำนาจอธิปไตย เป็นเมืองขึ้นทางทหาร เพราะเครื่องบินเขาจะขึ้นจะลง จะขนอาวุธอะไรมา เขาไม่แจ้งให้เราทราบ


    ตอนนี้คงไม่ต่างกันมาก ถ้าเรายอมให้สหรัฐใช้อู่ตะเภาเป็นฐานภัยพิบัติ  ต่อไปอู่ตะเภาจะเป็นฐานทัพสหรัฐอย่างสมบูรณ์แบบโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว!!!
    ถึงตอนนั้นจะสายเกินไป เพราะว่าจีนจะทยอยลดระดับความสัมพันธ์ทางการค้า การทูตกับไทย ประเทศมุสลิมทั้งหลายที่กำลังรวมตัวกันต่อต้านสหรัฐและพันธมิตร ก็จะถือว่าเราเป็นศัตรูกับเขาไปด้วย
    ประเทศมุสลิมทั้งหลายที่กำลังรวมตัวกันต่อต้านสหรัฐและพันธมิตร ก็จะถือว่าเราเป็นศัตรูกับเขาไปด้วย ตอนนี้สถานการณ์ไม่เหมือนกับตอนสงครามเวียดนาม ตอนนั้นเป็นสงครามจำกัดวงเฉพาะในอินโดจีน ไม่ได้ขยายวงกว้าง  แต่ตอนนี้สงครามจะขยายวงกว้าง มีความเป็นไปได้สูงที่จะพัฒนาเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3
    ที่จริงเรื่องอู่ตะเภาเป็นเรื่องใหญ่ เป็นความเป็นความตายของประเทศ จำต้องได้รับการถกเถียงกันในสภาฯ ท้ายที่สุดแล้ว จะเข้าเงื่อนไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 190 หมายความว่ารัฐสภาจะเป็นผู้อนุมัติหรือไม่อนุมัติเรื่องอู่ตะเภา  เพราะเป็นเรื่องสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
    พูดกันอย่างกว้างๆ ตะวันออกและตะวันตกกำลังจะเผชิญหน้ากัน เพื่อตัดสินว่าใครจะเป็นผู้นำโลกในหลายๆ ร้อยปีที่จะตามมา ที่ผ่านมา 400-500 ปี  ตะวันตกครองโลกผ่านวิทยาการที่ก้าวหน้ากว่า การทหารที่เข้มแข็งกว่า อันนำมาสู่ลัทธิล่าอาณานิคม
    - ผู้นำโลกตะวันตกหรือโลกเสรีขณะนี้คือ อังกฤษ สหรัฐ ผู้นำโลกตะวันออกคือ จีน และรัสเซีย
    - ฝ่ายแรกมีอาวุธทันสมัยกว่า มีแสนยานุภาพที่น่าสะพรึงกลัว 
    - ฝ่ายหลังได้เปรียบที่ประชากรมากกว่าหลายเท่า อาวุธเทคโนโลยีไม่ห่างกันมาก
    ฝ่ายตะวันออกหลักจะมี จีน รัสเซีย ประเทศในกลุ่มโซเวียตเดิม อินเดีย  ปากีสถาน อิหร่าน อัฟกานิสถาน และมุสลิมหลักๆ
    ฝ่ายตะวันตกคือ อังกฤษ สหรัฐ ยิว ซาอุฯ พันธมิตตะวันออกกลาง และนาโต
    ดูกันดีๆ เหมือนกับเป็น "สงครามครูเสด" สมัยใหม่!?
    ถ้าเราดำเนินนโยบายต่างประเทศผิด ประเทศไทยจะล่มจมทันที  เพราะฉะนั้น เราต้องต้านการใช้อู่ตะเภาเป็นฐานทัพสหรัฐ ถ้าเรา "ชักศึกเข้าบ้าน" การก่อการร้ายจะตามมา ไม่รู้ว่า "ผู้ก่อการร้าย" มาฝังตัวกันแล้วหรือยัง สถานการณ์น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง?....



ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
ภาพจาก Internet
www.thaipost.net
www.marinerthai.com

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ก้างขวางคอขบวนการเหลี่ยมร้าย



โดย โสภณ องค์การณ์
 ชีวิตไม่สิ้นลมหายใจ ก็ดิ้น แหล หลอกตัวเองต่อไป! พฤติกรรมนี้เหมาะกับสภาพของเหลี่ยมร้ายที่ยังไม่สำนึกว่าบาปกรรมมหันต์ตัวเองได้กระทำต่อบ้านเมืองต่อเนื่อง ไม่ยอมเลิกรานั้น เป็นอุปสรรคปิดหนทางกลับบ้านถาวร
       
       โทษหนักหนาสาหัสเกินกว่าคนจะให้อภัย อยู่ในระดับปรองดองกันได้ เมื่อคนไทยรู้เช่นเห็นชาติว่าวาทกรรมเรื่องปรองดองเป็นเพียงฉากของเล่ห์ตื้น ด้านๆ ของเหลี่ยม ซึ่งหลงละเมอเพ้อให้ชาวญี่ปุ่นฟังว่าจะมีโอกาสกลับบ้าน
       
       ถ้าสภาผู้ทรงเกล็ดทาสเงินผ่านกฎหมายปรองดองได้ตามคำบัญชา!
       
       อย่าว่าแต่การนิรโทษกรรมปรองดองกำมะลอเลย ต่อให้กฎหมายผ่านด้วยวิธีการใดๆ ยังเสี่ยงต่อวิกฤตขั้นเผชิญหน้า ใช้กำลังห้ำหั่นกันระหว่างกองกำลัง มวลชนผีโม่แป้งรับจ้างของเหลี่ยมร้าย กับคนไทยผู้รักชาติทั้งแผ่นดิน
       
       ช่วงนี้ต้องฝันค้าง ฝันแห้ง สลับกับฝันแฉะไปก่อน! ลวงโลก หลอกชาวบ้านบ้องตื้นสำเร็จจนเคยตัว มาถึงเวลาต้องเป็นเหยื่ออารมณ์ค้างของตัวเอง! สภาวะเช่นนี้เท่ากับเปิดช่องให้ขบวนการหลอกแด๊กส์เหลี่ยมคึกมาก
       
       ช่วงก่อนปิดสภา แกนนำชนเผ่าเสื้อแดงสู้แล้วรวย เร่งสร้างราคาให้เข้าตาเหลี่ยมร้าย หวังได้แทะเล็มเก้าอี้เสนาบดี ยกระดับจากไพร่ขี้ครอก เมื่อเห็นเสนาบดีสวนผัก รัฐมนโทสภาโจ๊กอยู่ดีกินดี ไม่ต้องแสดงภูมิปัญญาเด่น
       
       ช่วงนี้เป็นจังหวะเหมาะสำหรับนักตีกินหลอกเหลี่ยมเร่งโชว์ฝีมือ ฝีปาก ถากถางฝ่ายตรงข้าม เอาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นเหยื่อสำหรับโจมตี ไม่หวั่นเกรงกลัวกฎหมาย เพราะรู้ว่าเหลี่ยมร้ายอาฆาตตุลาการคณะนี้ยิ่งนัก
       
       ไม่ยอมรับถุงขนม ฟังคำแหล “บกพร่องโดยสุจริต” เหมือนคณะซุกหุ้น!
       
       ยิ่งค่ายสะตอเดินสายจัดชุมนุมเปิดโปงพฤติกรรมชั่วร้ายของขบวนการไพร่ขี้ครอก เปิดหน้ากากผู้นำกำมะลอของแม่นางโพยปูโพรกเน่าใน ทำให้ชาวบ้านหูตาสว่าง ได้สร้างความแค้นให้แกนนำชนเผ่าแดงแทบกระอักเลือด
       
       เพราะค่ายสะตอและมวลชนฝ่ายตรงข้ามแท้ๆ ทำให้เหลี่ยมร้ายต้องตะเกียกตะกายหาทางกลับบ้านเกิด! ทำให้คางคกนรกตกเก้าอี้ผู้ทรงเกล็ด เส้นทางสู่เก้าอี้เสนาบดีต้องมีปัญหาเมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินเช็กบิลปูโพรก
       
       วินิจฉัยฉีกหน้าว่าแม่ปูโพรกไม่ใช้ดุลพินิจเห็นความไม่เหมาะสม ทำให้กิ้งก่าหิวโซได้ทอง กร่าง ซ่าผงกหัวหงึกหงักเยาะเย้ยคางคกนรก สหายร่วมอุดมการณ์สู้แล้วรวย เป็นขี้คุกเดนตะราง แต่ต้องขาลอย มีขวากหนามปิดกั้น
       
       วันก่อนจึงได้จังหวะระบายอารมณ์แค้นค้างคาใจ ระเบิดคารมถ่อยถล่มตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ! นักสร้างราคาพวกเดียวกันท้าทำสงครามถึงขั้นเลือดนองแผ่นดิน กระหยิ่มว่าความกล้าหน้าไมโครโฟนจะเข้าตาถูกใจเหลี่ยมร้าย
       
       กลับบ้านแล้ว จะหวนนึกขึ้นได้กว่าความอหังการเกินขนาดกระดูกนั้นจะทำให้ตัวเองเข้าสู่ชะตาร้าย ถ้าไม่ไร้แผ่นดินอาศัย อาจทำให้การใช้ชีวิตลำบาก เมื่อคนอื่นๆ ไม่กลัวคำขู่ เพราะแต่ละคนก็มีสองมือสองตีน เช่นเดียวกัน
       
       จะหวังใช้กำลังคุกคามชาวบ้าน ฆ่าทหาร เผาเมือง ไม่ใช่เรื่องง่าย!
       
       ยิ่งมีขบวนการผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย มีประสบการณ์รบแบบจรยุทธ์ มีอาวุธ ใจถึง ประกาศจุดยืนเป็นปฏิปักษ์กับพวกเสื้อแดงสู้แล้วรวยหลอกกินเงินเหลี่ยม ทำให้เสื้อแดงกำมะลอนักตีกินหลอกชาวบ้าน ต้องคิดหนักเช่นกัน
       
       รู้เส้นทาง รู้ไส้รู้พุงกันอยู่ว่าใครเป็นอย่างไร ใจถึงแค่ไหน! แม้แต่ธิดาแดงเจ้าแม่นกแสก ยังต้องหลบใน ปล่อยให้ผัวรักผัวหวงออกมาเหวงสร้างราคา ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่อยู่ในสายตาของ ผรท. ไม่มีใครเอ่ยชื่อให้ความสำคัญ
       
       เหวงออกมาโหวงตีแผ่ เปิดโปง ผรท. ลืมไปว่าตัวเองเป็นทาสเงินเหลี่ยมร้ายอย่างโงหัวไม่ขึ้น ชาวบ้านยังหัวเราะกับความเหวง “ผมเกลียดทักษิณ ผมรักทักษิณ” เป็นสภาพอารมณ์แปรปรวน วิปริต ธาตุไฟเดินไม่สม่ำเสมอ
       
       ผรท. ได้โผล่มาเป็นกระดูกชิ้นโต อุปสรรคใหญ่หลวง พร้อมจะสู้กับขบวนการเสื้อแดงกำมะลออย่างถึงพริกถึงขิง ตาต่อตา ฟันต่อฟัน! มีกองกำลังเคยติดอาวุธมากถึงแสนคน เมื่อนับรวมกับหน่วยหนุนมีจำนวนสามแสนคน
       
       วันชุมนุมแสดงพลังของ ผรท.ในอุดรธานี เมืองหลวงของแดงอีสานวันศุกร์ ชาวบ้านไม่เห็นชนเผ่าเสื้อแดงกำมะลอ! ขวัญชัย ไพรพนา หัวโจกตัวซ่า ก็ไม่กล้าโผล่หน้ามาแหยม! จะผายลม กระแอมไอในบ้านต้องออมเสียง ฮ่า!
       
       เครือข่าย ผรท.กระจายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ จากนี้ไปต้องรอดูว่าธิดาแดงผู้เฒ่าจะหิ้วผัวไปเหวงปลุกระดมมวลชน เปิดหมู่บ้านชนเผ่าแดงง่ายๆ อีกหรือไม่ เมื่อกองกำลังของ ผรท.ได้เป็นตัวแปรสำคัญในศึกพลังมวลชน
       
       ทั้งธิดาเหวงเป็นอดีตกองกำลังแดงกลุ่มป่าแตก แต่คางคกนรกและกิ้งก่าได้ทองไม่มีประสบการณ์สู้รบ นอกจากหลอกชาวบ้านบ้องตื้นให้มานั่งตากแดดกินข้าวกล่อง อ้างว่าตัวเองเป็นไพร่ ทั้งๆ ที่อยู่ในระดับขี้ครอกเสือหิวแค่นั้น
       
       ผีโม่แป้งเหลี่ยมร้าย พวกคอมมิวนิสต์กำมะลอปรับตัวมาสอพลอทุนนิยมสามานย์ต้องเร่งหาจุดแก้มาคานกับ ผรท. และมวลชนผู้รักชาติในเมือง! เหลี่ยมร้ายคงได้แต่ตีกินมุ่งบ่อนทำลายบ้านเมืองจนลมหายใจเฮือกสุดท้าย!...


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:     
 www.manager.co.th 18 มิถุนายน 2555 15:01 น.



วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เปิดชนวนสงครามแย่งน้ำมันไทย – กัมพูชา


ผมลืมไปว่าได้เขียนเรื่องพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้านมาแล้วทั้งจีน ลาวในฐาน Battery ของเอเชีย และพม่าที่มีขุมทรัพย์มหาศาลทั้งเขื่อนและก๊าซธรรมชาติแล้ว ยังขาดอีกประเทศที่จะเป็นอนาคตมหาเศรษฐีในภูมิภาคนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือกัมพูชาที่ล่าสุดมีการประเมินว่า จะเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน-ก๊าซรายใหญ่รายใหม่ของโลก         
            หลังจากที่เชฟรอน (Chevron Corporation) บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาประกาศเมื่อปี 2548 ว่าได้ค้นพบบ่อน้ำมัน-ก๊าซขนาดใหญ่ ในพื้นที่ 2,427 ตารางกิโลเมตรทางใต้ของประเทศกัมพูชา โดยรายงานว่าบ่อขุดเพื่อการสำรวจ 5 จุด พบน้ำมันถึง 4 จุด ในพื้นที่สัมปทานแปลงเอ เนื้อที่ 6,278 ตารางกิโลเมตรของเชฟรอน จากเดิมที่เคยคาดว่าจะมีน้ำมันราว 400 ล้านบาเรล แต่อาจจะมีมีน้ำมันสำรองมาก 2 เท่าถึง 700 ล้านบาเรล รวมถึงก๊าซธรรมชาติอีกระหว่าง 3 ล้านล้าน ถึง 5 ล้านล้าน ลูกบาศก์เมตร
   ทั้งนี้ธนาคารโลกกล่าวว่า หากรวมทั้งหมด แหล่งพลังงานสำรองของกัมพูชาน่าจะเป็นน้ำมันถึง 2 พันล้านบาเรล และก๊าซธรรมชาติที่ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กัมพูชาไม่น้อยกว่า US$2 พันล้านเหรียญต่อปี หลายเท่าตัวของ GDP ภายในประเทศ  ในปี 2009 เป็นต้นไป  และคาดว่า GDP ของกัมพูชาจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า หรือจะมีรายได้ประมาณปีละ 1,700 ล้านดอลลาร์ เทียบราคาน้ำมันดิบบาร์เรลละ 60 ดอลลาร์ ขณะที่เดิมปัจจุบันภาพคือการพึ่งเงินช่วยเหลือจากต่างชาติ ราว 60% ของงบประมาณ ประชากรเกือบ 14 ล้านคน 35% อาศัยอยู่ในความยากจนที่ต่ำสุด มีรายได้เฉลี่ยวันละ 50 เซ็น (ไม่ถึง 10 บาท) เท่านั้น
            กระทั่งมีกระแสข่าวอย่างต่อเนื่อง ถึงความเนื้อหอมใน 2 ทางคือ การเข้ามาสัมปทานโดยตรงคือ มีบรรษัทน้ำมันข้ามชาติยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ในโลก มาเข้าคิวกันขอใบอนุญาตเพื่อขุดน้ำมันขึ้นมาใช้ยาวเหยียด ปัจจุบันแปลงสัมปทานของรัฐบาลมี 5 แปลง ขณะนี้กำลังแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ระหว่างบริษัท Total SA ของฝรั่งเศส กับชีนุ๊ก (China National Offshore Oil Corp - CNOOC) ของจีน เพื่อขอสัมปทานในแปลง B เนื้อที่ 6,557 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ บริษัทจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส คูเวต ไทย มาเลเซีย ออสเตรเลียและสิงคโปร์ กำลังเข้ามาขอประมูลกันอย่างเข้มข้น แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ชัดว่า รัฐบาลกัมพูชาจะเอาแปลงขุดในทะเล ทั้ง 6 แปลง ออกมาเปิดให้ประมูลจริงมากน้อยแค่ไหน
            ส่วนอีกทางคือการเข้ามาบริจาคสนับสนุนกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งทั้ง สหรัฐฯ  ไทย จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย ฯลฯ ทั้งในเครื่องโครงสร้างพื้นฐาน รถไฟ ถนน ฯลฯ พลังงาน คือการสร้างเขื่อน ขุดเหมือนแร่ นอกจากนั้นยังมีการเปิดบ่อนการพนัน  ตึกที่ทำการสภารัฐมนตรี การสร้างโรงแรมฯลฯ ในหลายรูปแบบ


            กลับกลายว่ากัมพูชาคือดุลอำนาจประเทศอีกแห่งหนึ่งที่ยักษ์มหาอำนาจกำลังดึงไปเป็นพวกของตน อย่างน้อย 2 ค่ายคือสหรัฐ และจีนที่กำลังพลิกแผ่นดินหาบ่อน้ำมันใหม่ ๆ โดยเฉพาะบริษัทจีนได้วิ่งเต้นขอประมูลแปลงบีเกือบทั้งหมด โดยเสนอใช้เครื่องมือช่วยเจ้าหน้าที่ทางพลังงานชาวกัมพูชา ตรวจสอบชั้นใต้ดิน โดยระบบสั่นสะเทือน (seismic tests)
            ประเด็นสำคัญตอนนี้มี 3 ประเด็นที่น่าสังเกตุเกี่ยวกับอนาคตพลังงานของกัมพูชาคือ
1.)    กัมพูชายังอุบไต๋ปริมาณน้ำมันในบล็อก A ซึ่งไม่แน่ว่าจะเป็นการลักไก่หน้าไพ่หรือเปล่า
2.)    สัญญาการผลิตน้ำมัน-ก๊าซที่ทำกับรัฐบาลที่มีพรรค CPP นำใด ๆ ในกัมพูชา จะต้องทำผ่านบริษัทโซกีเม็กซ์ (Sokimex) ของคนเชื้อสายเวียดนาม ที่ใกล้ชิดกับฮุนเซน ปัญหาในอนาคตคือการครอบงำและการคอรัปชั่น
3.)    ขณะที่ประเด็นสำคัญที่ผมจะนำข้อมูลมานำเสนอคือกัมพูชายังตกลงในการแบ่งสรรผลประโยชน์ในเขตเศรษฐกิจทางทะเล ที่ทับซ้อนกับไทยไม่ได้นี่คือชนวนสำคัญที่อนาคตหากเคลียร์ประเด็นเรื่องทับซ้อนไม่ได้ ก็อาจจะเกิดสงครามแย่งน้ำมันก็ได้ ประกอบกับฐานะภาพทางการเมืองของไทยยังไม่สามารถต่อรองผลประโยชน์กับกัมพูชาได้ เมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจที่แห่ให้การสนับสนุนประเทศกัมพูชาอย่างไม่ลืมหูลืมตา
   ทั้งนี้คนวงในอุตสาหกรรมการสำรวจขุดเจาะในกัมพูชากล่าวว่า ความจริงแล้วแหล่งที่คาดว่าจะมีก๊าซและน้ำมันดิบมากที่สุดก็คือ เขตเหลื่อมล้ำทางทะเลในอ่าวไทยที่กัมพูชายังมีข้อพิพาทกับไทย
            กระทั่งล่าสุด Dr Abdullah Al Madani  นักวิจัยและอาจารย์สอนวิชาเอเชียศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งคูเวต ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ในบทความชิ้นหนึ่งที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์กัล์ฟนิวส์ ได้ออกเตือนว่ากรณีพิพาทดินแดนระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดนี้ อาจจะปะทุรุนแรงขึ้นได้เมื่อมีอุตสาหกรรมน้ำมันในกัมพูชาพัฒนาไปอย่างจริงจัง และ กัมพูชา ควรจะพยายามให้มากขึ้นในการเจรจาแบ่งปันเขตแดนทางทะเลกับไทยให้แล้วเสร็จโดยเร็ว




            นักวิชาการในตะวันออกกลางได้แสดงความวิตกว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ไทย - กัมพูชา อาจจะมีความขัดแย้งจนถึงขั้นเปิดสงครามย่อยๆ ขึ้นได้ ในยุคที่เริ่มมีการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันในกัมพูชา และเส้นแบ่งพรมแดนในเขตอ่าวไทยยังไม่ชัดเจน พร้อมทั้งแนะนำให้ทั้งสองประเทศรีบเจรจาหาทางปักปันเขตแดนทางทะเลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 
            ทั้งนี้ ในภาพรวมประเด็นเรื่องความซับซ้อนของเขตแดนทางทะเลในอ่าวไทยบริเวณนี้มี 4 ประเทศที่เกี่ยวข้องกัน คือ ไทย เขมร มาเลเซีย และเวียดนาม ทับกันไปทับกันมา
            แต่สำหรับ พื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ Joint  Development  Area  :  JDA อันเป็นปมปัญหาให้ต้องเจรจากันดังกล่าวนี้มีพื้นที่ประมาณ 25,789 ตารางกิโลเมตร อันเป็นแหล่งที่คาดว่าจะมีทรัพยากรก๊าซธรรมชาติและน้ำมันที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแหล่งหนึ่งในเอเชียอาคเนย์ในอนาคต
            สำหรับความเป็นมาก่อนหน้านี้ อดีตรัฐบาลที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาปัญหาเขตทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา ด้วยการมีบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ยังผลให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา ประชุมกันครั้งแรกเมื่อ เดือนธันวาคม 2544 และมีการกันพื้นที่ในการเจรจาออกเป็น 2 ส่วน คือ


1. พื้นที่ทับซ้อนเหนือเส้นละติจูด 11    องศาเหนือขึ้นไป ให้แบ่งเขตทางทะเลอย่างชัดเจนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้บังคับ
2.พื้นที่ทับซ้อนใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือลงมา ให้พัฒนาพื้นที่ดังกล่าวร่วมกัน
    กระทั่งการเดินทางไปราชอาณาจักรกัมพูชาของอดีตนายกฯ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2549   ได้มีกระบวนการเร่งรัดให้การเจรจาปักปันเขตแดนทางทะเลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพียงเพื่อหวังให้มีการเจรจาเปิดสัมปทานขุดเจาะก๊าซและน้ำมันในพื้นที่พัฒนาร่วม หรือ JDA เป็นหลัก  
   ปรากฎว่าการเจราจาเรื่องประโยชน์ในการสำรวจและขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (JDA)ระหว่าง 2 ประเทศ ไม่สามารถตกลงกันได้
            โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสมัยนั้นแถลงว่า "ตามข้อเสนอเดิมจะแบ่งพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาเป็น 3 เขต โดยพื้นที่ในส่วนที่อยู่ตรงกลางจะแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากขุดเจาะปิโตรเลียม 50:50ซึ่งไม่มีปัญหาอะไร ส่วนพื้นที่อีกสองเขตทางด้านซ้ายและด้านขวา จะให้มีสัดส่วนการแบ่งผลประโยชน์ที่ต่างออกไป คือ ทางกัมพูชาเสนอให้แบ่งผลประโยชน์ 90:10 ขณะที่ไทยเสนอว่าควรแบ่งผลประโยชน์ 60:40"  
            โดยแถลงต่อว่า อดีตนายกฯ ระบุในที่ประชุมว่า จะพยายามเจรจากับนายกฯ ฮุนเซน เพื่อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ในการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวให้เร็วที่สุด เพื่อให้เพียงพอกับการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศ ขณะที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากทั้งสองบรรลุข้อตกลงแล้ว ทางฝ่ายไทยจะให้บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เข้าไปสำรวจและขุดเจาะหาก๊าซธรรมชาติทันที


            อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทยเตรียมเสนอปล่อยเงินกู้ที่มีเงื่อนไขผูกพันวงเงิน 1.3 พันล้านบาท ให้กับกัมพูชา สำหรับสร้างถนนในกัมพูชาสายสะงำ-อลองเวง-เสียมราฐ ซึ่งรักษาการนายกฯ ระบุว่า การปล่อยกู้ดังกล่าวจะช่วยสร้างประโยชน์ให้ไทยในด้านการท่องเที่ยว เพราะเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางไปสู่ "นครวัด"แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของกัมพูชา และยังสนับสนุนสนามบินสุวรรณภูมิทางอ้อมด้วย
            นอกจากนี้ ทางฝ่ายกัมพูชายังเสนอซื้อพลังงานไฟฟ้าจากประเทศไทยสำหรับใช้ในประเทศ ซึ่งการเจรจาของทั้งสองฝ่ายจะหยิบยกเรื่องนี้มาหารือ ขณะที่ในประเด็นอื่นนั้นๆ ทางฝ่ายไทยและกัมพูชาจะตกลงเรื่องเขตแบ่งแดนบนบกให้มีความชัดเจน
            "การที่ไทยจะให้ความช่วยเหลือโดยเสนอปล่อยเงินกู้ สร้างถนนหมายเลข 67 วงเงิน 1.3 พันล้านบาท การขายกระแสไฟฟ้าให้กับกัมพูชา รวมทั้งการปักเสาไฟฟ้าไปยังเขตกัมพูชาน่าจะเป็นข้อแลกเปลี่ยนที่จะช่วยโน้มน้าวกัมพูชา ที่จะทำให้การเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลของสองประเทศสำเร็จได้"  นั่นคือข้อสรุปการเจรจาล่าสุดในรัฐบาลที่แล้ว
            แต่ปัญหานี้กำลังรอประทุขึ้นมาหากมีการประกาศเรื่องผลประโยชน์ที่จะมีขึ้นของประเทศกัมพูชาในอนาคตอันใกล้ โดยเฉพาะยังมีขุมทรัพย์ในแปลง B ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งกัมพูชา 250 กม.ไปทางตะวันออก ติดกับเขตน่านน้ำไทยในอ่าวไทย โดยแปลงสำรวจขุดเจาะที่ว่านี้ ทอดไปทางตะวันออกเฉียงใต้ทางแนวน่านน้ำของกัมพูชา ซึ่งเป็นแหล่งที่มีศักยภาพในปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสูง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 6,551 ตารางกิโลเมตร คาดว่ามีน้ำมันและก๊าซอยู่หลายร้อยล้านบาร์เรล
   ซึ่งเมื่อกลางปี 2548 ทางกัมพูชาได้ลงนามในสัญญาสำรวจขุดเจาะหาแก๊สและน้ำมันดิบในแปลง B กับกลุ่มบริษัทไทย สิงคโปร์และมาเลเซียที่ถือหุ้นกันฝ่ายละ 30% กับบริษัทน้ำมันจากออสเตรเลียอีกหนึ่งแห่งที่มีผลประโยชน์ร่วมอยู่ด้วย 10% คาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตน้ำมันดิบแหละก๊าซที่หลุม B ได้ใน 3 ปี
   


ย้อนประวัติศาสตร์ความขัดแย้งไทย - กัมพูชา
            เมื่อมองย้อนประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา ประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกันยาวถึงเกือบ 800 กิโลเมตร มีประเพณีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน มีการนับถือศาสนาพุทธเหมือนกัน พบว่าเราเป็นทั้งมิตรและศัตรูต่อกันอย่างยาวนาน
            ในงานวิจัยของศาสตราจารย์เขียน ธีระวิทย์ และคุณสุณัย ผาสุข ในโครงการเมธีวิจัยอาวุโสเรื่องกัมพูชา ได้เขียนสรุปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชาและไทยไว้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชาและไทยมีพื้นฐานไม่ค่อยดีนัก โดยทั้ง 2 ฝ่ายมีทัศนคติที่ไม่ค่อยดีต่อกัน ความขัดแย้งในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาวนเวียนกลับไปกลับมาตลอดเวลาในเรื่องปัญหาเขตแดน และปัญหาความสัมพันธ์ที่ดีและไม่ดีของทั้ง 2 ประเทศมักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาความขัดแย้งภายในของกัมพูชาประกอบด้วยเสมอ
            จากความสัมพันธ์ที่เป็นทั้งร่วมมือกันและขัดแย้งกันมาในอดีต ได้แปรเปลี่ยนไปสู่ความร่วมมือกันอย่างเป็นด้านหลักอย่างชัดเจนในยุคปัจจุบัน จากนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ทำให้นโยบายต่างประเทศของไทยเปลี่ยนไปอย่างมาก ความพยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจมีเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ มีความพยายามที่จะผลักดันให้ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีนซึ่งประกอบด้วย เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า เข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน(Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ซึ่งในขณะนั้นมีอยู่ 6 ประเทศ
            ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ลดปัญหาความไม่มีเสถียรภาพหรือความขัดแย้งทางการเมืองลง แต่สถานการณ์ความผันผวนทางการเมืองในกัมพูชาที่มีค่อนข้างมาก ทำผลให้กัมพูชาเป็นชาติสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่เข้าเป็นสมาชิกของอาเซียนโดยมีการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคม 2542 นับเป็นประเทศที่ 10 ในอาเซียน


            ความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจและการค้าระหว่างไทยและกัมพูชาเป็นไปในทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้นเป็นลำดับ มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ การพัฒนาการเกษตร การแพทย์และสาธารณสุขต่อกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ทางการค้าโดยเฉพาะการค้าชายแดนขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินค้าอุปโภคและบริโภคของไทยวางขายอยู่ในกัมพูชาอย่างมากมาย และขณะเดียวกันไทยก็มีการนำเข้าไม้ซุงและไม้แปรรูป หนังดิบและหนังฟอก รวมทั้งสินแร่โลหะ จากกัมพูชาเช่นกัน แต่โดยรวมแล้วไทยได้เปรียบดุลการค้ากับกัมพูชามาโดยตลอด จากประมาณปีละ 2 พันล้านบาท ในปี 2536 มาเป็น 2 หมื่นล้านบาท ในปี 2545
            นักธุรกิจไทยจำนวนมากได้เข้าไปลงทุนในกัมพูชาในธุรกิจประเภทต่างๆ เช่น ธุรกิจโทรคมนาคม การแปรรูปไม้ โรงแรม ร้านอาหาร ธุรกิจการท่องเที่ยวตลอดจนการลงทุนในกาสิโนตามแนวชายแดน นอกจากนี้ไทยยังเป็นแหล่งรองรับแรงงานจากกัมพูชา โดยมีชาวกัมพูชาเข้ามาทำงานทั้งที่มาเช้าเย็นกลับ และที่หลบเข้ามาอย่างผิดกฎหมายอีกจำนวนมากนับเป็นแสนคน
            ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น มีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจของกัมพูชาเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่ในบางกรณีก็อาจเกิดปัญหาที่ผลประโยชน์จากการค้า และการลงทุนเกือบทั้งหมดถูกเก็บเกี่ยวโดยโดยประเทศที่เข้มแข็งกว่าหรือนักธุรกิจที่เข็มแข็งกว่าได้เช่นเดียวกัน หรือในบางกรณีก็เกิดปัญหาการแสวงผลประโยชน์อย่างไม่ชอบธรรม
   


เมื่อปัญหาเหล่านี้ผสมกับความรู้สึกพื้นฐานลึกๆ ของความหวาดระแวงชาวต่างชาติหรือความรู้สึกต่อคนไทยในอดีตของประชาชนกัมพูชา และผสมผสานกับความขัดแย้งทางการเมืองภายใน จึงได้กลายเป็นความรุนแรงไปในที่สุด เหตุการณ์ครั้งนี้จึงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราไม่สามารถแก้ปมปัญหาทางทัศนคติที่ฝังอยู่ในคนทั้ง 2 ฝ่าย
            ดังนั้นการลงทุนของนักลงทุนไทยจึงไม่ควรจะมุ่งแต่กำไรและกอบโกยผลประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ควรจะต้องดำเนินด้วยความเข้าใจในสังคมวัฒนธรรมของคนกัมพูชา การแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม การส่งเสริมให้มีการตอบแทนทางสังคมและสร้างความเข้าใจที่ดีงามต่อกัน
            ขณะเดียวกันก็เป็นห่วงกัมพูชาที่มีคนปรามาสไว้เช่นกันว่า ประเทศนี้จะมีทางรอดพ้นจาก "คำสาปน้ำมัน" (Oil Curse) ได้อย่างไร เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยบางประเทศ เช่น ไนจีเรีย ที่เข้าสู่ความยุ่งยากหลังการพบน้ำมันดิบมหาศาล แต่มีเงินเข้าคลังเพียงน้อยนิด มิหนำซ้ำยังเป็นหนี้หลายแสนล้านดอลลาร์ และจะมีการเปลี่ยนประเทศกัมพูชาที่ยากจนมานานหลายทศวรรษกลายเป็นประเทศที่เรียกว่า "เคลปโตเครซี่" (Cleptocracy) หรือประเทศที่ "ปกครองโดยพวกหัวขโมย"
            ตามความหมายที่ไม่เป็นทางการนั้น คำๆ นี้หมายถึงระบอบที่มีรัฐบาลทุจริตคอร์รับชั่นในการบริหารจัดการเงินงบประมาณ แทนที่จะมุ่งนำไปพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้พ้นจากความยากจน แต่เงินงบประมาณถูกถ่ายเทเข้ากระเป๋าหรือบัญชีเงินฝาก เพื่อความร่ำรวยส่วนตัวของผู้นำ นักการเมืองและกลุ่มที่มีพลังทางการเมืองทั้งหลาย...

ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:    
โดย อาคม


ฮุนเซน ดึงมหาอำนาจช่วยฮุบแหล่งน้ำมัน


ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา เดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งก็ได้ยังผลให้ความสัม พันธ์ระหว่างสองประเทศนี้ดูจะชื่นมื่นมากยิ่งขึ้น เมื่อปรากฏว่า ฮุน เซน ได้ไปตกลงให้บรรษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของฝรั่งเศส ก็คือกลุ่มบริษัท TOTAL นั้นให้เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่มีสิทธิสัมปทานในการสำรวจขุดค้นน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับเขตทับซ้อนทางทะเลกับไทยอยู่ในทุกวันนี้
   เพราะฉะนั้นในเมื่อว่าการเจรจาระหว่างทางการไทยกับกัมพูชาเกี่ยวกับปัญหา เขตทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยก็ยังคงไม่มีความคืบหน้าอะไรเกิดขึ้นเลย หากแต่กลับปรากฏว่า ฮุน เซน ได้ไปตกลงกับฝรั่งเศสแล้วเช่นนี้ก็ยิ่งจะทำให้ปัญหาดังกล่าวนี้มีความยุ่งเหยิงมากขึ้น เนื่องจากว่าก่อนหน้านี้ ฮุน เซน ก็ยังได้ดึงเอาบรรษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานเข้าไปแล้วหลายราย
   โดยเริ่มจากยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานอย่าง Chevron Corp จากสหรัฐอเมริกา ซึ่ง ฮุน เซน ได้กำชับให้กลุ่มบริษัทนี้ เร่งสรุปผลการดำเนินการสำรวจหาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในเขตที่ต่อเนื่องกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับไทยนั้น เพื่อที่ว่าจะเริ่มดำเนินการขุดค้นน้ำมันและแก๊สขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้เร็วที่สุด ซึ่งถ้าหากจะพิจารณาจากความต้องการของ ฮุน เซน แล้ว ก็คือการวางเป้าหมายที่จะขุดค้นน้ำมันและแก๊สธรรมชาติขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้ภายในปี 2554
   พร้อมกันนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้การปิโตรเลียมแห่งชาติ ที่เป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลกัมพูชานั้นให้เร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อให้เป็นบริษัทที่ ร่วมทุนกับ Chevron Corp ในการขุดค้นน้ำมันและแก๊สเป็นการเฉพาะอีกด้วย
   ส่วนในอีกด้านหนึ่งนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้รัฐวิสาหกิจปิโตรเลียมแห่งชาติเร่งเซ็นสัญญากับกลุ่ม TOYO Engineering จากญี่ปุ่นเพื่อให้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกในกัมพูชาด้วยหวังว่าจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลุ่ม TOYO ตัดสินใจลงทุนในด้านดังกล่าวในระยะต่อไป


ทั้งนี้โดย ฮุน เซน ได้ให้คำมั่นว่ารัฐบาลของเขาจะเร่งทำการร่างกฎหมายน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเพื่อให้สภาแห่งชาติเขมรให้การรับรองและประกาศบังคับใช้ในเร็วๆวันนี้อีกด้วย
   ส่วนทางด้าน Chevron Corp นั้น ก็ยังได้ร่วมทุนกับกลุ่ม Mitsui จากญี่ปุ่นและกลุ่ม GS Caltex จากเกาหลีใต้เพื่อดำเนินการสำรวจหาแหล่งน้ำมัน และแก๊สธรรมชาติในเขตน่านน้ำของกัมพูชานับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาแล้วนั้น และถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้สรุปผลการ สำรวจในระยะที่ผ่านมาอย่างชัดเจนก็ตาม หากแต่Chevron Corp ก็ได้ให้การตอบสนองต่อเป้าหมายของ ฮุน เซน เป็นอย่างดี
   ซึ่งก็คือ Chevron Corp ได้ให้การยืนยันกับ ฮุน เซน อย่างชัดเจนแล้วว่าการจัด ทำรายงานสรุปผลการสำรวจฯทั้งหมดนั้นจะถูกนำเสนอต่อรัฐบาล ฮุน เซน ใน ปลายปีนี้อย่างแน่นอน
   โดยกลุ่ม Chevron Corp พร้อมด้วยกลุ่ม Mitsui และกลุ่ม GS Caltex ร่วมทุนกันในสัดส่วน 55% ต่อ 30% และ 15% ตามลำดับ และก็ได้ทำการขุดเจาะสำรวจหาน้ำมันในเขตสัมปทาน A ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลเขตจังหวัดสีหนุวิลล์ในภาคใต้ของกัมพูชาประมาณ 150 กิโลเมตรนั้นพบว่า 4 ใน 15 หลุมที่ดำเนินการสำรวจนั้นเป็นแหล่งน้ำมันและแก๊สฯที่คุ้มค่าที่จะลงทุนอย่างยิ่ง
   ซึ่งด้วยผลจากการสำรวจฯดังกล่าว ก็ปรากฏว่ามีบริษัทต่างชาติอีกกว่า 10 รายที่ได้หลั่งไหลเข้าไปขออนุญาตสัมปทานเพื่อสำรวจหาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในเขตอ่าวไทยในส่วนที่รัฐบาลกัมพูชาถือว่าเป็นเขตน่านน้ำของฝ่ายตนนั้นแล้ว โดยในที่นี้ก็ยังรวมถึงบริษัทในเครือของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานจากจีนด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น ทั้งธนาคารโลก และ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยังได้แสดงการเชื่อมั่นต่อที่ประชุมสมัชชาว่าด้วยการลงทุนขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯในเอเชียที่สิงคโปร์ เมื่อไม่นานมานี้ ว่าน้ำมันและแก๊สฯในกัมพูชาและเขตทับซ้อนทางทะเลกับไทยด้วยนั้นมีปริมาณน้ำมันสำรองมากถึง 2,000 ล้านบาร์เรลและก็มีปริมาณแก๊สฯสำรองอีกมากกว่า 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มากกว่า 5 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว
   พร้อมกันนั้น IMF ก็ยังได้ประมาณการด้วยว่าหากมีการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯเหล่านี้ขึ้นมาใช้ประโยชน์เมื่อไร ก็จะทำให้รัฐบาลกัมพูชามีรายรับมากกว่า 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2554 และจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2564 ถ้าหากมีโรงกลั่นน้ำมันในกัมพูชาด้วย
   แต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่นับเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการตัดสินใจลงทุนขุดค้นของกลุ่มบริษัทต่างๆ ในเวลานี้ก็คือการที่ทางการไทยและกัมพูชายังไม่สามารถตกลงกันได้เลยในส่วนที่เกี่ยวกับการแบ่งปันผลประโยชน์จากน้ำมัน และแก๊สฯในเขตทับซ้อนทางทะเลที่กว้างกว่า 27,000 ตารางกิโลเมตรดังกล่าว
   ซึ่งถ้าหากจะว่าไปแล้วทางการไทยกับกัมพูชาก็เคยตกลงในหลักการร่วมกันมา แล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2549 โดยได้ตกลงแบ่งเขตทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน โดยส่วนที่อยู่ตรงกึ่งกลางนั้นก็ให้แบ่งผลประโยชน์กันในสัดส่วน 50 ต่อ 50
   ส่วนเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลของไทยนั้นก็ได้ตกลงให้แบ่งผลประโยชน์ให้กับฝ่ายไทยมากกว่าฝ่ายกัมพูชา ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับเขตทับซ้อนฯ ที่อยู่ใกล้ฝั่งทะเลของกัมพูชา ก็ให้แบ่งผลประโยชน์ให้กับฝ่ายกัมพูชามากกว่าฝ่ายไทย
   แต่ถึงกระนั้น ทั้งสองฝ่ายก็ยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับสัดส่วนของการแบ่งผลประโยชน์กล่าวคือฝ่ายไทยเสนอให้แบ่งผลประโยชน์เป็น 60 ต่อ 40 แต่ฝ่ายกัมพูชากลับต้องการให้แบ่งผลประโยชน์เป็น 90 ต่อ 10 เพราะฝ่ายกัมพูชาเชื่อว่าเขตทับซ้อนฯที่อยู่ใกล้ฝั่งกัมพูชานั้นมีปริมาณน้ำมันและแก๊สฯ มากกว่าในเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ฝั่งไทยนั่นเอง
   ยิ่งไปกว่านั้น นับจากที่ไทยกับกัมพูชาขัดแย้งกันในพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโล เมตรในเขตปราสาทพระวิหาร ตั้งแต่กลางปี 2551 เป็นต้นมาจนถึงขั้นที่ต้องยิงปะทะกันด้วยอาวุธมาแล้ว 2 ครั้ง คือเมื่อปลายปีที่แล้วและในต้นปีนี้ด้วยแล้วก็ยังทำให้ไม่มีการเจรจาเกี่ยวกับน้ำมันและแก๊สฯในเขตทับซ้อนทางทะเลเกิดขึ้นเลย เพราะถูกปัญหาในเขตปราสาทพระวิหารบดบังไปอย่างสิ้นเชิง


แต่ในเมื่อว่า ฮุน เซน ได้ดึงเอาบรรษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานทั้งหลายจากประเทศมหาอำนาจให้เข้ามาถือสิทธิสัมปทานในแหล่งน้ำ มันและแก๊สฯ ในเขตทับซ้อนทางทะเลมากขึ้นเช่นนี้ ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างชนิดที่ว่าไม่ต้องกระพริบตากันเลย เพราะในโลกของผลประโยชน์นั้นก็ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ประเทศใหญ่มักจะเอาเปรียบประเทศเล็กอยู่แล้ว และที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ก็คือประ เทศเล็กๆอย่างกัมพูชากลับได้พยายามแสวงหาในสิ่งนี้มาโดยตลอดเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีข้อขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน!!!


ขอขอบคุณที่มา เว็บบล็อก OKnation - ทรงฤทธิ์ โพนเงิน

เมื่อสหรัฐอเมริกาขึ้นค่าภาคหลวงปิโตรเลียม...ประสาท มีแต้ม

 คอลัมน์ : โลกที่ซับซ้อน 
       โดย...ประสาท มีแต้ม
       
       ขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังจะให้สัมปทานแหล่งปิโตรเลียมใหม่จำนวน 22 แปลง นับเป็นครั้งที่ 21 ตั้งแต่เราเริ่มสำรวจและขุดเจาะครั้งแรกเมื่อปี 2514 นับถึงปัจจุบันเราได้ให้สัมปทานไปแล้วจำนวน 157 แปลง โดยครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2550 จำนวน 30 แปลง ในเดือนเมษายนปีนี้เพียงเดือนเดียวปิโตรเลียมที่ได้มีมูลค่าประมาณ 3.8 หมื่นล้านบาท แต่ผลประโยชน์ที่เจ้าของประเทศได้รับกลับต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
       แม้ข้อมูลดังกล่าวไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่อย่างน้อยก็ทำให้เรารู้ว่า เรายังมีแหล่งปิโตรเลียมเหลืออยู่ ดังนั้นจึงมีเหตุผลเพียงพอที่เราจะต้องกลับมาทบทวนถึงเงื่อนไขและผลประโยชน์ที่เป็นธรรมที่เจ้าของประเทศควรจะได้รับจากทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่านี้
       ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ สังคมไทยได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้กันมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทำให้เราได้รับรู้ว่าประเทศอื่นๆ เขาจัดการกันอย่างไร แต่นักการเมืองและข้าราชการที่เกี่ยวข้องของไทยไม่คิดจะปรับปรุง โดยอ้างว่ากฎหมายไม่อนุญาตบ้าง จะเสียบรรยากาศการลงทุนบ้าง ในบทความนี้ผมจะกล่าวถึงการขึ้นค่าภาคหลวงในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวซึ่งเป็นการจัดการที่นุ่มนวลที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ผมได้อ้างอิงเอกสารเพื่อให้ท่านอื่นๆ สามารถค้นคว้าต่อไปด้วย
      หน่วยงานของสหรัฐอเมริกาที่ผมรู้สึกชื่นชมมากมีชื่อย่อว่า G.A.O. (Government Accountability Office) ซึ่งน่าจะแปลว่า สำนักงานความรับผิดชอบของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในเดือนกันยายน 2551 ทาง G.A.O. ได้ออกรายงาน (44 หน้า) เรื่อง ค่าภาคหลวงน้ำมันและก๊าซ : ระบบการจัดเก็บรายได้จากน้ำมันและก๊าซของรัฐบาลกลางจำเป็นต้องมีการประเมินใหม่อย่างรอบด้าน (GAO-08-691 Oil and gas royalties : The Federal System for Collecting Oil and Gas Revenues Needs Comprehensive Reassessment) ซึ่งเป็นรายงานเพื่อเสนอต่อสภาคองเกรส
       ส่วนหนึ่งของรายงานฉบับนี้ได้อ้างผลการศึกษาในปี 2550 ว่า “ส่วนที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้รับ (government take-ซึ่งค่าภาคหลวงเป็นส่วนหนึ่งรวมอยู่ในนี้) นั้นอยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก” (In May 2007, we reported that, based on studies by industry experts, the amount of money that the U.S. government receives from production of oil and gas on federal lands and waters—the so-called “government take”— was among the lowest in the world. )
       ก่อนปี 2550 อัตราค่าภาคหลวงในแหล่งบนบกโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 12.5 (หน้าที่ 9 ของรายงาน) แต่สำหรับแหล่งในทะเลขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำ คือ 12.5% สำหรับน้ำลึกกว่า 400 เมตร และ 16.67% สำหรับน้ำตื้นกว่านั้น
       ในปี 2550 หน่วยงานที่ชื่อว่า The Secretary of Interior ได้ขึ้นค่าภาคหลวงถึง 2 ครั้งสำหรับสัมปทานใหม่ในอ่าวเม็กซิโก คือ มกราคม ในเขตน้ำลึกเป็น 16.67% และในเดือนตุลาคม ทุกสัมปทานจะเพิ่มเป็น 18.75%’
       กลับมาที่ประเทศไทยครับ ตั้งแต่เริ่มต้น เราคิดค่าภาคหลวงในอัตรา 12.5% แต่นับจากปี 2534 เป็นต้นมาได้มีการปรับมาเป็นช่วงตั้งแต่ 5-15% ตามจำนวนมากน้อยที่ขุดเจาะได้ในแต่ละเดือน โดยที่อัตราสูงสุดจะเกิดขึ้นเมื่อขุดเจาะได้มากกว่า 6 แสนบาร์เรลต่อเดือน แต่ค่าเฉลี่ยที่ผมสุ่มดูในแหล่งต่างๆ พบว่าอยู่ที่ประมาณ 12.456% เท่านั้น ไม่มีแหล่งใดเกินค่านี้เลย อัตราค่าภาคหลวงที่เราได้รับนี้ต่ำกว่าที่สหรัฐอเมริกาได้รับ
ผู้นำกัมพูชาฉวยโอกาสดึงฝรั่งเศสเข้ามาเกี่ยวข้องความขัดแย้งในอ่าวไทย ให้สัมปทาน Block3 (Area3) ที่อยู่ริมนอกสุดแก่โตตาลออยล์ ขณะที่ยังเป็นน่านน้ำพิพาทกับประเทศไทย พรมแดนทางน้ำกับพรมแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชาเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก แม้กระทั่ง BlockA ที่กลุ่มเชฟรอน-มิตซุย ประกาศพบน้ำมันแล้วก็ยังสามารถเป็นเขตแดนพิพาทได้เช่นกัน ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้บริหารบริษัทน้ำมันฝรั่งเศสยอมรับเอง แปลงสำรวจ Bloc 3 ที่สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซนให้สัมปทานสำรวจและผลิตในสัปดาห์กลางเดือนที่ผ่านมานั้น อยู่ในเขตทับซ้อนทางทะเลที่รัฐบาลไทยได้กล่าวอ้างสิทธิเป็นเขตน่านน้ำของตนเองเช่นเดียวกันซึ่งทำให้ยากที่จะเข้าดำเนินการได้ในเร็ววัน นายฌองปิแอร์ ลาบเบ (Jean-Piere Labbe) ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทโตตาลสำรวจและผลิต
       
       กลับมาที่สหรัฐอเมริกาอีกครับ รัฐ Montana ได้ประกาศขึ้นค่าภาคหลวงน้ำมันและก๊าซตั้งแต่เดือนกันยายน 2548 จาก 12.5% สำหรับก๊าซ และ 13.0% สำหรับน้ำมัน เป็น 16.67% ทั้งสองอย่าง การขึ้นครั้งนี้ไม่มีผลกับผู้ได้รับสัมปทานเก่าที่ทำมาแล้ว
       รายงานอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ มีรหัสสำหรับค้นในอินเทอร์เน็ตว่า OCS Report MMS 2008-013 คือ Deepwater Gulf of Mexico 2008 : America’s Offshore Energy Future (หน้า 26) ที่น่าสนใจก็คือ นอกจากจะมีการขึ้นค่าภาคหลวงแล้ว ยังมีการขึ้นค่าเช่า (rental rate) ด้วย ภาพข้างล่างนี้มาจากแฟนในเฟซบุ๊กจัดทำให้อย่างสวยงาม โดยใช้ข้อมูลที่ผมค้นเจอจากรายงานดังกล่าว
     คือค่าเช่าอยู่ที่ $6.25 ต่อเอเคอร์สำหรับน้ำลึกน้อยกว่า 200 เมตร และ $9.50 ต่อเอเคอร์สำหรับส่วนที่น้ำลึกกว่า 200 เมตร รายงานนี้ไม่ได้บอกว่าค่าเช่าเดิมเท่าใด บอกแต่อัตราค่าเช่าใหม่ และไม่ได้บอกว่าต่อระยะเวลาเท่าใด แต่ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นต่อปี
      ถ้าแปลงเป็นเงินไทยในเขตน้ำตื้นก็ประมาณ 48,500 บาทต่อตารางกิโลเมตรต่อปี ถ้าเป็นแหล่งลันตา สิมิลันและสุรินทร์ ซึ่งมีพื้นที่ 9,686 ตารางกิโลเมตร (อยู่บริเวณอ่าวไทย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เริ่มผลิตเมื่อมกราคม 2551 ได้ก๊าซวันละ 6 ล้านลูกบาศก์ฟุต น้ำมัน 3,312 บาร์เรลต่อวันหรือประมาณ 5% ของน้ำมันที่คนไทยใช้) เราก็น่าจะได้ค่าเช่าถึงกว่า 460 ล้านบาทต่อปี เรื่องนี้เป็นความรู้ใหม่ของผมครับ ผมไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีการเก็บค่าเช่าด้วย เพราะประเทศไทยเราไม่เคยมีการกล่าวถึงเรื่องนี้เลย
      กลับมาที่เรื่องค่าภาคหลวงเพียงอย่างเดียว จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานพบว่า ในปี 2554 ไทยได้ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจำนวน 51,179 ล้านบาท (อัตรา 12.45%) ถ้าเราขึ้นค่าภาคหลวงเลียนแบบสหรัฐอเมริกา 18.75% เราจะได้ค่าภาคหลวงเพิ่มขึ้นเป็น 77,076 ล้านบาท คือเพิ่มขึ้นถึง 25,897 ล้านบาท
       ดีไหม? มีเหตุผลไหม? เสียหายตรงไหน? แล้วทำไมไม่ทำ? ภาคประชาชนช่วยกันตั้งคำถามหน่อยครับ! ...


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th : 18 มิถุนายน 2555 08:17 น.


อำนาจอธิปไตยเหนืออู่ตะเภาของไทยแลกเปลี่ยนมิได้





โดย เขียน ธีระวิทย์

เมื่อวันที่ 1-3 มิถุนายน 2012 นี้ มีข่าวแพร่สะพัดในสื่อต่างๆ ว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กำลังเจรจาขายอธิปไตยของชาติ โดยยกสนามบินอู่ตะเภาไปให้สหรัฐฯใช้ โดยมีนัยว่าแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับสหรัฐฯ ในการออกวีซ่าให้ทักษิณ ชินวัตร เข้าประเทศ งานนี้มีทักษิณเป็นสื่อให้ผู้นำไทยและสหรัฐฯ ได้พบปะเจรจากัน (ทักษิณ ยังเข้าสหรัฐฯ ไม่ได้ เพราะมีคนช่วยกันล็อบบี้ทำเนียบขาวสหรัฐฯ โดยให้เหตุผลว่าทักษิณเป็นนักโทษหนีคุก และเป็นผู้ต้องหาคดีอาญาหลายคดี)
       
       ผู้นำทหารไทยและสหรัฐฯ ได้พบกันที่สิงคโปร์ในโอกาสการประชุม Asia Security Summit หรือ "IISS Shangri-la Dialogue" (1-3 มิถุนายน) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทยและสหรัฐฯ นำคณะนายทหารเข้าร่วมประชุมด้วย ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พลเอกมาร์ติน อี เดมซีย์ (Martin E. Dempsey) ประธานคณะเสนาธิการทหารผสมสหรัฐฯ ได้เข้าพบปะเจรจากับนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์และผู้นำทหารไทยที่กรุงเทพฯ พวกเขาได้เจรจากันเรื่องอะไรยังคงเป็นเรื่องลับ แต่ข่าวที่ปิดไม่มิดผ่านมาทาง พล อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คือ สหรัฐฯ ขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก "ไม่เกี่ยวกับการทหาร" และ "ไม่เกี่ยวกับพันตำรวจโททักษิณไปสหรัฐฯ"
       
       ผู้เขียนเชื่อว่าสหรัฐฯ ขอใช้อู่ตะเภาเพื่อการทหารเป็นหลัก ตามแผนยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในช่วง 10 ปีข้างหน้า เพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของจีน ส่วนที่ว่าต้องการใช้เป็นศูนย์ศึกษาภูมิอากาศหรือเป็นศูนย์บรรเทาภัยพิบัตินั้นเป็นข้ออ้างหรือใช้เป็นฉากบังหน้ามากกว่า ด้วยเหตุผลและหลักฐานที่จะกล่าวต่อไป ณ ที่นี้
       
       1. สหรัฐฯ ริอ่านทำอะไร? เพื่อใคร? 
       
       สหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ฤดูกาลเลือกตั้งประธานาธิบดี (พฤศจิกายน 2012) เป็นกลเม็ดในการหาเสียงของนักการเมือง ประธานาธิบดีที่อยู่ในอำนาจ ต้องแสดงให้ประชาชนเห็นว่าสหรัฐฯ ยังยิ่งใหญ่ในโลกนี้ โอบามาต้องการเป็นประธานาธิบดีต่ออีก 4 ปี
       
       ในโอกาสการประชุมว่าด้วยความมั่นคงของเอเชียที่สิงคโปร์ตามที่กล่าวแล้ว นายลีออน แพเนตตา (Leon Panetta) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เผยแพร่นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีสาระสำคัญคือ สหรัฐฯ มีความสนใจและความสามารถในการใช้ทรัพยากรเพื่อรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และต่อต้านประเทศที่กล้าท้าทายสหรัฐฯ ถึงปี ค.ศ. 2020 กองทัพเรือสหรัฐฯ ที่มีอยู่ จะย้ายมาประจำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 60% สหรัฐฯ จะช่วยปกป้องผลประโยชน์ของมิตรประเทศ และฟื้นฟูมิตรภาพกับเพื่อนเก่า (ซึ่งเหินห่างไปเพราะทุ่มเททำสงครามในตะวันออกกลางและอัฟกานิสถาน
       
       เพื่อการนี้ แพเนตตาได้เผยแผนปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม คือ ยักย้ายที่ตั้งกองกำลังทหารใหม่ให้เหมาะสม (repositioning) และจัดสมดุลอำนาจในภูมิภาคเสียใหม่ (rebalancing) เพราะสหรัฐฯกังวลว่าตนเองเสียดุลอำนาจในภูมิภาคนี้ให้แก่จีนมากเกินไป
       
       งานนี้ได้เดินหน้าแล้วในด้านการทูต หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมที่สิงคโปร์ แพเนตตาและคณะได้เดินทางต่อไปยังเวียดนามและอินเดีย เพื่อหยั่งเสียง หาเสียง และแสวงหาความร่วมมือ
       
       สำหรับประเทศไทย นอกจากคณะผู้แทนไทยและสหรัฐฯ ได้มีโอกาสเจรจากันแล้วที่สิงคโปร์ แพเนตตาได้ส่งพลเอกมาร์ตินเดมซีย์ มาพบนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ และผู้นำทหารไทย เพื่อเจรจาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาอีก นอกจากนั้น พลเอก Dempsey ยังได้ให้สัมภาษณ์แก่คุณสุทธิชัย หยุ่น แห่งบริษัท Nation Group ด้วย (5 มิถุนายน) ในการตอบคำถามของคุณสุทธิชัย ที่ว่าสหรัฐฯ จะใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อการทหารด้วยหรือไม่ Dempsey ตอบว่า "ไม่ ยังก่อน เราอาจไปถึงอันนั้นได้" (ดูใน The Nation, June 9, 2012, 10A) อย่างไรก็ตาม Dempsey ได้ให้สัมภาษณ์เป็นนัยว่า "ศูนย์อู่ตะเภานี้ ในบางโอกาสอาจถูกใช้ เป็นสถานที่สำหรับเรือรบสับเปลี่ยนกันมาจากสิงคโปร์" (สิงคโปร์ไม่มีดินแดนให้สหรัฐฯ ใช้เป็นฐานปฏิบัติการทางทหาร แต่ได้ตกลงให้เรือรบสหรัฐฯ แวะจอดทำงานหรือพักงานหรือจับจ่ายได้)
       
       การเพิ่มกำลังทหารของสหรัฐฯ ในเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อ balance อำนาจของจีน หรือ contain จีนใช่หรือไม่นั้น ถ้าคนที่เป็นมิตรกับจีนไปถามผู้นำหรือนักการทูตสหรัฐฯ ก็จะได้รับคำตอบว่า "ไม่ใช่" หรือเลี่ยงตอบอย่างคลุมเครือ แต่สำหรับผู้ที่ติดตามการเมืองระหว่างประเทศแล้ว จะได้ข้อสรุปอย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯ ต้องการสกัดกั้นอิทธิพลของจีนเป็นสำคัญ โดยเหตุผลโดยย่อดังนี้
       
       (1) สหรัฐฯ เกรงอิทธิพลของจีน เพราะจีนโตเร็วทุกด้าน คราวนี้กลัวจีนไม่ใช่กลัวคอมมิวนิสต์ แต่เป็นจีนทุนนิยม IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะมี GDP โตล้ำหน้าสหรัฐฯ ภายในปี ค.ศ. 2016
       
       (2) สหรัฐฯ เป็นเจ้าโลกมานาน ต้องการรักษาฐานะอภิมหาอำนาจโลกต่อไป ในยุโรป มี NATO สามารถต้านรัสเซียไว้ได้ ในตะวันออกกลางซึ่งเป็นอู่น้ำมัน สหรัฐฯ มีอิสราเอลเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งและห้าวหาญ แม้สหรัฐฯ จะบอบช้ำจากสงครามอิรักและอัฟกานิสถาน แต่นโยบายทำให้แตกแยกแล้วปกครอง (divide and rule) ในนามของการส่งเสริมประชาธิปไตยให้งอกงาม (Arab Spring) ก็ประสบผลสำเร็จอย่างดี พวกเขาฆ่าฟันกันเองจนหมดฤทธิ์ที่จะกล้าท้าทายอิสราเอลและสหรัฐฯ ไปอีกนาน ผลข้างเคียงที่ชาวโลกและคนไทยได้รับคือน้ำมันราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์
       
       (3) ในเอเชียตะวันออก สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้มีกำลังแข็งแกร่งพอที่จะสกัดกั้นได้ทั้งจีนและรัสเซีย โดยมีฐานทัพสหรัฐฯ ประจำอยู่
       
       (4) ถ้าประเทศใดอาจหาญพอที่จะท้าทายสหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิก-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ-ออสเตรเลียก็ได้ตกลงกันให้ทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ สับเปลี่ยนกันไปประจำในตอนเหนือของออสเตรเลียได้จำนวน 2,500 คน (ข้อตกลงสหรัฐฯ-ออสเตรเลีย 17 พฤศจิกายน 2011)
       
       (5) ความตึงเครียดอันเกิดจากความขัดแย้งกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในเกาะ-น่านน้ำในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับ 4 ประเทศ สมาชิกอาเซียนเปิดโอกาสให้สหรัฐฯ กลับมามีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อีก ฐานทัพสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์และไทย (พันธมิตรเก่า) สมัยสงครามต้านคอมมิวนิสต์นั้นได้ถูกประชาชนเจ้าของประเทศเดินขบวนขับไล่จนต้องถอนออกไป ตอนนี้สหรัฐฯ เห็นช่องทางที่จะกลับคืนมาได้อีก
       
       (6) สำหรับสนามบินอู่ตะเภานั้น สหรัฐฯ เคยใช้ปฏิบัติการทางทหารนานนับสิบปี รู้ว่าใช้ได้ดีทั้งเป็นฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศ บัดนี้สหรัฐฯ คงต้องการกลับคืนมาใช้เพื่อการทหารเป็นหลัก โดยปรับปรุงซ่อมแซม-ขยายให้เป็นศูนย์ปฏิบัติการที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้เป็นฐานปฏิบัติการสอดแนมสืบความลับประเทศที่ไม่เป็นมิตรในภูมิภาคในยามปรกติ และปฏิบัติการรบในยามสงคราม แต่เมื่อภาวะสงครามปัจจุบันยังไม่ปรากฏ จึงต้องหาข้ออ้างที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการใช้เสียก่อน ข้ออ้างที่ใช้เจรจากับผู้นำไทยก็คือ ขอใช้เพื่องานด้านมนุษยธรรมบรรเทาภัยพิบัติ และศูนย์ศึกษา-วิจัย-สำรวจสภาพภูมิอากาศในเชิงอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเป็นงานส่วนหนึ่งของเครือข่าย NASA ข้อสรุปนี้คงไม่ผิด เพราะตัวการที่มาเจรจากับผู้นำไทยเป็นประธานคณะเสนาธิการทหารผสม ซึ่งอยู่ในคณะผู้นำทหารที่ไปร่วมประชุมสุดยอดว่าด้วยความมั่นคงเอเชียที่สิงคโปร์ พวกนี้มิได้รับผิดชอบงานบรรเทาภัยพิบัติ หรืองานสำรวจสภาพภูมิอากาศหรืออวกาศแต่ประการใด
       
       2. จีนคิดอย่างไร? ต้องการอะไร? และทำอะไร?
       
       ถ้าอู่ตะเภาหรือแผ่นดินไทยจะไม่ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายปฏิบัติการที่เป็นปฏิปักษ์ต่อจีน เราก็ไม่ควรเอาเรื่องปัจจัยจีนมากล่าวในที่นี้ แต่กรณีนี้เชื่อว่าชาวจีนและผู้นำจีนที่รู้เรื่องนี้จะต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สหรัฐฯ มีเจตนาจะใช้อู่ตะเภาทำกิจกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อจีน รัฐบาลไทยที่ยอมให้สหรัฐฯ ใช้แผ่นดินของตัวก็จะต้องรับผิดชอบด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องวิเคราะห์ว่า ทำไมทัศนะของจีนจึงเป็นเช่นนี้
       
       (1) จีนตกเป็นเป้าของการโจมตีโดยสหรัฐฯ และพรรคพวกว่าได้เพิ่มงบประมาณทางทหารอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวโลกมองว่าจีนเป็นภัยคุกคามสันติภาพของภูมิภาคและของโลก
       
       จีนมองว่าสหรัฐฯ และพรรคพวกพยายามทำลายความน่าเชื่อถือและนโยบายใฝ่สันติภาพของจีน สร้างภาพลบให้คนมองจีนในแง่ร้าย จีนพยายามสร้างภาพการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนที่ต้องอาศัยภาวะแวดล้อมทางสันติ โดยอธิบายว่า จีนมีพื้นที่ใกล้เคียงกับสหรัฐฯ และมีพันธะที่จะต้องปกป้องเขตอำนาจอธิปไตยไม่ยิ่งหย่อนกว่า จีนมีพลเมืองมากกว่าสหรัฐฯ หลายเท่า (ปี 2011 จีนมีพลเมือง 1,347 ล้านคน หรือ 19.2% ของประชากรโลก ในขณะที่สหรัฐฯ มี 313 ล้านคน หรือ 4.47% ของประชากรโลก) แต่มีรายจ่ายด้านการทหารน้อยกว่ามหาอำนาจอื่นทั้งหมด ถ้าคิดจากจำนวนประชากรและพื้นที่ ปี 2012 จีนมีงบประมาณด้านการทหาร 106,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มจากปีก่อน 11.2% (หรือ 1.28% ของ GDP) ในขณะที่ของสหรัฐฯ เท่ากับ 925,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดจากปีก่อน 5% (หรือ 4.8% ของ GDP)1
       
       (2) ในด้านการเมือง เรื่องร้อนประจำปีที่จีนตกเป็นเป้าของการโจมตีโดยสหรัฐฯ และพรรคพวกคือเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีน นักการเมืองสหรัฐฯ และสื่อมวลชนตะวันตกและเครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชน ใช้ข้อมูลเรื่องรายงานสิทธิมนุษยชนในจีนของสหรัฐฯ เป็นเครื่องมือโจมตีจีนตลอดมา สหรัฐฯ มี Radio Free Asia, Radio Free Tibet แพร่ข่าวเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีนมานานนับสิบปีแล้ว
       
       จีนมองว่าสหรัฐฯ และพรรคพวกมีเจตนาทำลายชื่อเสียงของจีน และพยายามตอบโต้ออกมาเป็นระยะๆ แม้จะไม่ค่อยได้รับความสนใจจากสื่อตะวันตก แต่คำตอบโต้ของจีนก็มีเหตุผลดีไม่ยิ่งหย่อนกว่าเรื่องงบประมาณรายจ่ายด้านการทหาร ที่สำคัญคือจีนมีมุมมองเรื่องสิทธิมนุษยชนแตกต่างจากสหรัฐฯ จีนยังเน้นเรื่องปากท้องซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการยังชีพเป็นสำคัญ และจีนเน้นความสงบเรียบร้อยของส่วนรวมมากกว่าสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเป็นต้น
       
       (3) ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จีนยึดหลักเคารพภูมิปัญญาของประชาชนในแต่ละประเทศ ที่มีความรู้ดีกว่าคนต่างชาติในการแก้ไขปัญหาของตนเอง นั่นคือยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของชาติอื่น จีนมองว่าสหรัฐฯ ชอบเอามาตรฐานของตนไปตัดสินชะตากรรมของคนในชาติอื่น ฉะนั้นทุกครั้งที่เกิดปัญหาความขัดแย้งกันในประเทศต่างๆ จีน (บางครั้งมีรัสเซียร่วมด้วย) มักจะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับสหรัฐฯและพรรคพวก สหรัฐฯ (อภิมหาอำนาจพูดเสียงดัง) จะเป็นผู้นำในการทำลายภาพลักษณ์ของจีน โดยสื่อมวลชนสหรัฐฯ และตะวันตกจะประโคมข่าวว่าจีนไม่ส่งเสริมฝ่ายประชาธิปไตยที่ชาติตะวันตกสนับสนุน
       
       (4) เกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ นางคลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้กล่าวในโอกาสต่างๆ หลายครั้ง กล่าวโทษจีนว่าเป็นชาติขยายดินแดน (เพิ่งจะหยุดพูดในทำนองนั้นเมื่อไม่นานมานี้) เรื่องนี้จีนถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะจีนถือว่าปัญหาพิพาทกันเรื่องพรมแดนนั้น เป็นปัญหาติดมากับประวัติศาสตร์ จีนมีข้ออ้างที่ที่อิงกฎหมายระหว่างประเทศไม่ด้อยกว่าประเทศอื่นที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อน (เรื่องพิพาทกับญี่ปุ่นเหนือเกาะเตี้ยวอี๋ว์หรือเซนกากุก็เช่นเดียวกัน)2
       
       (5) ชาวจีนส่วนมากเชื่อว่าสหรัฐฯ คุกคามความมั่นคงของจีน แม้สงครามเย็นจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่สหรัฐฯ ยังมีอาการโรคสงครามเย็นขึ้นสมอง คุกคามความมั่นคงของจีนโดยสนับสนุนไต้หวัน แม้จะยอมรับว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่ยังขายเครื่องบินรบและอาวุธสงครามล้ำยุคให้ไต้หวันเป็นระยะๆ ส่งเสริมชาวทิเบตให้ต่อต้านจีน มีฐานทัพล้อมรอบจีน ในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ถ้าไทยให้สหรัฐฯ ใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหรัฐฯ ไทยก็จะถูกมองว่าเป็นปฏิปักษ์กับจีนเหมือนสหรัฐฯ ด้วย
       
       (6) การที่ไทยจะให้หรือไม่ให้สหรัฐฯ ใช้อู่ตะเภานั้น จะว่าไม่เกี่ยวกับจีนก็คงไม่ได้ ถ้าไทยให้ไปตามคำขอ ไม่ว่าจะขอใช้โดยเอาอะไรเป็นข้ออ้างก็ตาม ภาพที่ออกมาสู่สายตาจีน (และสายตาโลก) คงไม่มีใครเชื่อว่าไม่เกี่ยวกับการทหารและความมั่นคงของสหรัฐฯ คงไม่มีใครเชื่อว่าไม่เกี่ยวกับความมั่นคงของจีน แต่ถ้ารัฐบาลไทยปฏิเสธคำขอของสหรัฐฯ จีนคงจะให้ความไว้เนื้อเชื่อใจไทยมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง
       
       3. ผลประโยชน์ของไทย
       
       (1) ปัจจุบันความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะมีปัญหามากขึ้น โดยสหรัฐฯ เป็นฝ่ายรุก จีนเป็นฝ่ายตั้งรับ ถ้าฝ่ายรุกมีปัญหาทางเศรษฐกิจมากขึ้น ก็อาจจะแสดงความก้าวร้าวมากขึ้น ความขัดแย้งกันทางการเมือง-เศรษฐกิจ อาจจะขยายตัวไปสู่การประจันหน้ากันทางทหารได้ ดูเหมือนสหรัฐฯ จะเตรียมตัวไปสู่จุดนั้น และกำลังรุกหนักที่จะดึงประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมาเป็นพรรคพวกให้มากขึ้น
       
       (2) ไทยเป็นหมากตัวหนึ่งของสหรัฐฯ ที่จะใช้เสริมพลังอำนาจทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในการต่อต้านจีน ไทยจะวางตัวอย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยพิจารณาถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคงเป็นสำคัญ จะทำตัวเอนเอียงไปเข้าข้างฝ่ายใดจะต้องอิงความถูกต้องทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ที่จะนำไปสู่สันติภาพของโลกในฐานะที่เราเป็นมนุษย์คนหนึ่งในสังคมโลกด้วย
       
       (3) ปัจจุบันไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับจีนและสหรัฐฯ เป็นผลประโยชน์ของไทยที่จะต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสองประเทศไว้ต่อไป
       
       (4) จีนเป็นมิตรที่ดีของไทย ตั้งแต่ไทย-จีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันในปี 1975 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ไทย-จีนทุกด้าน (ความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ) ดีขึ้นตามลำดับ และมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นเรื่อยๆ เฉพาะในด้านเศรษฐกิจ จีนกลายเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย ปี 2011 มูลค่าการค้ารวม 57,983.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ไทยส่งออกไปจีน 27,402.40 ล้านเหรียญ, นำเข้า 30,581.15 ล้านเหรียญ) เพิ่มจากปีก่อน 26.85% การลงทุนจากจีนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปี 2011 เพิ่ม 62% เป็น 970 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (อันดับ 2 รองจากญี่ปุ่น) มีแนวโน้มว่า จีนจะกลายเป็นชาติที่มาลงทุนในไทยมากที่สุดในไม่กี่ปีข้างหน้า นักท่องเที่ยวจากจีนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวน 1,571,294 คน ในปี 2011 นับเป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย เพิ่มจากปีก่อน 57.56%3 เศรษฐกิจของจีนเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ประมาณ 10% โดยเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่เปิดประเทศปฏิรูปเศรษฐกิจในปี 1978 เป็นต้นมา ใน 5 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจคงจะเติบโตได้อีกปีละประมาณ 6-9% ในขณะที่สหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอย การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอย่างมีเสถียรภาพเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยอย่างมาก
       
       (5) สหรัฐฯ มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจมานาน แต่นับจากนี้ฐานะทางเศรษฐกิจส่วนที่จะมาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับไทยนั้น ก็มีแนวโน้มลดน้อยลง สหรัฐฯ มีโอกาสล้มละลายมากกว่าจีน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2012 สหรัฐฯ มีหนี้สาธารณะ 15.77 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 102% ของ GDP (ของจีน 25.8%) อัตราการเพิ่มของหนี้สาธารณะมีมากกว่า 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (วัดจากแนวโน้มตั้งแต่ปี 2003) จีนเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ณ เดือนธันวาคม 2010 สหรัฐฯเป็นหนี้จีน 1.260 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ4
       
       (6) สหรัฐฯ เป็นอภิมหาอำนาจของโลก มีสิทธิยับยั้งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เช่นเดียวกับจีน แต่สหรัฐฯ ห้าวหาญในการใช้อำนาจมากกว่าและบ่อยครั้งกว่า สหรัฐฯ เคยเป็นมิตรและพันธมิตรทางทหารของไทย (ในสงครามเกาหลีและสงครามอินโดจีน) แต่ตอนนี้เราไม่มีเหตุผลดีเท่าสมัยนั้นในการไปร่วมมือกับมิตรเก่าไปต่อต้านมิตรใหม่ของเรา แม้ถ้าสหรัฐฯชักชวนให้เราไปช่วย "ทำโทษ" เมียนมาร์ เกาหลีเหนือ อิหร่าน หรือประเทศอื่นที่มิใช่เป็นมิตรสนิทของเราเช่นจีน เราก็ไม่ควรร่วมมือด้วย
       
       (7) ถ้าไทยยอมให้สหรัฐฯ ใช้แผ่นดินไทย ประกอบกิจกรรมที่เป็นปรปักษ์กับประเทศเพื่อนบ้าน จะเป็นประเทศจีนหรือประเทศอื่นใดในภูมิภาคก็ตาม โอกาสที่คนไทยจะแตกแยกกันเองเสียก่อนนั้นมีมาก โอกาสที่จะเป็นฝ่ายสูญเสียหรือพ่ายแพ้ก็มีมาก
       
       4. บทเรียนของไทย: ยังจำได้ไหม?
       
       (1) ประเทศไทยในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ยินยอมให้สหรัฐฯ ใช้สนามบินอู่ตะเภา เพื่อทำสงครามในอินโดจีน ข้อตกลงไทย-สหรัฐฯ (มีเพียงบันทึกรายงานการประชุมปี 1967 ไม่มีข้อตกลงอย่างเป็นทางการ) แม้จะบอกว่าสนามบินอู่ตะเภาเป็นของไทย ไทยมีอำนาจการบังคับบัญชาการบริหารงาน และมีอำนาจศาล ฯลฯ แต่ในทางปฏิบัติ สหรัฐฯ ย้ายฐานบินทิ้งระเบิด B52 จากเกาะกวมมาอยู่ที่อู่ตะเภา และใช้สนามบินอู่ตะเภาปฏิบัติการทิ้งระเบิด เวียดนาม ลาว กัมพูชา อย่างเป็นอิสระจากฝ่ายไทย เสมือนหนึ่งเป็นดินแดนของสหรัฐฯ5
       
       (2) ในการเจรจาขอใช้สนามบินอู่ตะเภา ปี 1967 นั้น ผู้แทนเจรจาของฝ่ายสหรัฐฯ ศึกษาข้อมูลมาอย่างดีว่า คู่เจรจาฝ่ายไทยมีจุดอ่อนจุดเด่นอยู่ที่ไหน ระบบการเมืองของไทยมีช่องโหว่อะไรบ้าง แล้วเอาข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้างเกี่ยวกับภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์จากภายนอก (อ้างว่าได้มาจากดาวเทียมบ้างหน่วยสืบความลับที่ทันสมัยสุดยอดซึ่งฝ่ายไทยฟังไม่เข้าใจ) มาต้มตุ๋นคู่เจรจา ซึ่งฝ่ายไทยได้แต่งุนงงไม่รู้จะตอบโต้ซักถามอย่างไร ฝ่ายสหรัฐฯ มัดมือชก ถือว่าไม่ปฏิเสธก็คืออนุมัติ เมื่อไทยถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ออกข่าวโจมตีจากฮานอยและปักกิ่ง ฝ่ายสหรัฐฯ ก็ใช้หมัดเพชฌฆาตฟาดไทยซ้ำเติม บอกฝ่ายไทยว่าไทยไม่มีทางเลือกอีกแล้ว ไหนๆ ศัตรูของเราก็ถือว่าเราเป็นศัตรูร่วมกันแล้ว ฯลฯ การเจรจาของคู่ภาคีที่มีฐานะไม่เท่าเทียมกัน จะมีข้อสรุปหรือไม่ก็ตาม สหรัฐฯ ก็หาช่องทางเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภาโดยเครื่องบินทิ้งระเบิด B52 ไปถล่มทำลายประเทศเพื่อนบ้านของไทยเหลวแหลกอย่างไร้มนุษยธรรม
       
       (3) คราวนี้ ถ้าผู้นำทหารหรือตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ มาเจรจาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาอีก กลเม็ดในการเจรจาของเขาก็คงจะเป็นรูปแบบเดิม คือใช้วิธีอ่อยเหยื่อต้มตุ๋นให้รัฐบาลไทยยอม เขาศึกษามาดีแล้ว (ได้ข้อมูลจากซี.ไอ.เอ.) เช่นข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของไทยในการจัดการภัยพิบัติที่ไทยเพิ่งได้รับจากสึนามิ และน้ำท่วมใหญ่ปี 2011 ฯลฯ พวกเขาทำการบ้านศึกษาหาช่องทางนำมาใช้ในการเจรจา ฝ่ายสหรัฐฯ อาจจะเสนอโครงการสวยหรูมาจูงใจฝ่ายไทย เช่นกิจกรรมด้านการศึกษาวิจัย สภาพภูมิอากาศและอวกาศ โดยองค์การการบินอวกาศสหรัฐฯ (NASA) สัญญาว่าจะใช้เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยมาตั้งอยู่ในแผ่นดินไทย จะเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ไทยเข้าร่วมงานหรือฝึกอบรม โดยมีผู้เชี่ยวชาญชั้นหัวกะทิจากสหรัฐฯ มาถ่ายทอดวิชาการให้ เป็นต้น จะสร้างศูนย์บรรเทาภัยพิบัติ โดยมีอุปกรณ์สื่อสารอย่างล้ำสมัย เพื่อบรรเทาทุกข์ให้ไทยและเพื่อนบ้านในภูมิภาคในยามมีภัยพิบัติ เป็นต้น พวกเขาจะไม่ลืมที่จะตอกย้ำว่า กิจกรรมต่างๆ จะเป็นประโยชน์ต่อไทยอย่างไร ในการเจรจานั้น ฝ่ายทหารสหรัฐฯ อาจจะเอาผู้เชี่ยวชาญ NASA หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพยากรณ์ภัยธรรมชาติ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านบรรเทาภัยพิบัติมารวมอยู่ในคณะเจรจาด้วย หรือจะแยกกันมาก็ได้
       
       ฝ่ายสหรัฐฯ อาจจะทำให้ฝ่ายไทยตายใจว่า งานความร่วมมือนี้จะดำเนินการอย่างเปิดเผยและโปร่งใส กิจกรรมต่างๆ จะให้คนไทยมีส่วนร่วม พวกเราผู้เป็นเจ้าของประเทศควรศึกษาประสบการณ์ที่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรเจรจาทำข้อตกลงต่างๆ กับสหรัฐฯ ซึ่งทำให้สหรัฐฯ ได้ไปซึ่งสิทธิหรืออำนาจในการใช้สนามบินอู่ตะเภา สนามบินทหารหลายแห่งในภาคอีสาน และเครือข่ายหน่วยสืบความลับทางทหาร ซึ่งมีอยู่มากมายในสมัยสงครามอินโดจีน ข้อสัญญาเหล่านั้นไม่มีประโยชน์อันใดสำหรับไทย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฝ่ายไทยไม่มีใครรู้เรื่องที่สหรัฐฯ ต้องการ ไม่มีคน-ไม่มีเงินในการร่วมกันใช้ประโยชน์ ปล่อยให้เขาใช้ประโยชน์ไปอย่างอิสระแต่ฝ่ายเดียว ในปัจจุบัน ไทยเราไม่มีศัตรูที่เป็นเป้าหมายร่วมกันกับสหรัฐฯ เขาอาจจะหากิจกรรมพลเรือนอย่างเรื่องภัยพิบัติมาบังหน้า แต่งานในเบื้องต้นคงจะใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการสืบความลับ ซึ่งอาจจะมีเครื่องบินสอดแนม (มีคนขับหรือไม่ก็ได้) โดยอ้างว่าปฏิบัติการตรวจสภาพอากาศตามข้อตกลง
       
       (4) เครื่องบินยักษ์ B52 ของสหรัฐฯที่อู่ตะเภานั้น กว่าจะออกไปได้ก็ด้วยความสามัคคีของคนไทย โดยการนำของนิสิต-นักศึกษาเดินขบวนประท้วง บีบรัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช ให้บีบให้สหรัฐฯ ถอนออกไป (1975) เมื่อสหรัฐฯ แพ้สงครามอินโดจีนและกลับไปอยู่ในแผ่นดินของตน คนไทยถูกเพื่อนบ้านมองอย่างหวาดระแวงต้องปรับตัวอยู่กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอดสู โดยมีตราประทับรอยบาปทางใจให้แก่คนไทยที่รู้สึกผิดชอบชั่วดีทั่วหน้ากัน
       
       (5) คราวนี้ ถ้าเราจะให้สหรัฐฯ กลับมาใช้สนามบินอู่ตะเภาอีก ประตูแรกที่รัฐบาลต้องผ่านคือพลังประชาชนที่จะออกมาประท้วง ถ้าผ่านประตูนี้ไปได้ และสหรัฐฯ ต้องถูกพลังสันติภาพของโลกตอบโต้จนต้องกลับไปเลียบาดแผลในแผ่นดินของตนอีก คนไทยก็จะมีบาดแผลรอยบาปประทับใจรอบสองเพิ่มขึ้นกว้างกว่าเดิม (สำหรับคนที่รอดตาย) แต่ถ้าสหรัฐฯ เป็นฝ่ายชนะ คำถามที่มีต่อคนไทยก็คือ "ไทยต้องการอะไรจากเพื่อนบ้านหรือ?" และ "ประเทศไทยจะถูกสหรัฐฯ ใช้เป็นหมากกระดานต่อไปของลัทธิจักรวรรดินิยมหรือไม่?"
       
       5. ไทยจำต้องปฏิเสธคำขอของสหรัฐฯ
       
       (1) นโยบายของสหรัฐฯ ที่ต้องการสกัดกั้นจีนนั้นเป็นเรื่องจริง สหรัฐฯ ต้องการใช้อู่ตะเภาเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธวิธีต่อต้านจีนก็เป็นของจริง ผู้นำไทยที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องนี้ต้องรอบคอบ อย่าเชื่อสิ่งที่ฝ่ายสหรัฐฯ พูดเสียทั้งหมด พวกเขาจะพูดกับคนไทยที่ต้องการเป็นมิตรกับจีนอย่างหนึ่ง แต่จะพูดกับคนญี่ปุ่นและคนฟิลิปปินส์ที่มีปัญหาขัดแย้งกับจีนอีกอย่างหนึ่ง และพวกเขามีกลเม็ดในการเจรจาให้ได้สิ่งที่พวกเขาต้องการเฉพาะหน้าโดยให้คนไทยได้แต่ความคาดหวัง
       
       (2) ไทยไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในฐานะที่เราเป็นมิตรกับทั้งสองประเทศ (และควรรักษาฐานะเช่นนี้ต่อไป) ยังไม่สายเกินไปที่จะใช้การทูตส่งเสริมให้พวกเขาเป็นมิตรกันและร่วมมือกันสร้างภูมิภาคเอเชียให้เป็นแดนสันติภาพ
       
       (3) ไทยไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งกันเรื่องกรรมสิทธิ์ในดินแดนบริเวณทะเลจีนใต้ เราควรยึดหลักความปรองดองกัน และให้ประเทศคู่พิพาทเจรจามาตกลงกันแบบทวิภาคี เราไม่มีปัญหาเรื่องดินแดนกับจีน แต่มีปัญหากับกัมพูชา เราก็ควรยึดหลักการเจรจากันแบบทวิภาคีเช่นกัน
       
       (4) สำหรับสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ (ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บรูไน และมาเลเซีย) บางประเทศต้องการดึงสหรัฐฯ มาเสริมฐานะของตัวในการต่อสู้กับจีนนั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องสนับสนุนเขา เพราะจะเสียแรงเปล่า อย่างไรเสียจีนก็จะไม่ยอมอ่อนข้อให้ ส่วนสิงคโปร์และอินโดนีเซียที่ต้องการเอาสหรัฐฯมาถ่วงดุลกับจีนในภูมิภาคของเรา ปล่อยให้เป็นเรื่องของพวกเขา
       
       (5) ถ้าไทยตกลงให้สหรัฐฯ ใช้อู่ตะเภา จะมีข้อตกลงลับหรือเปิดเผยอย่างไรก็ปกปิดไม่อยู่ ผลก็คือมิตรภาพไทย-จีนจะถูกลดระดับ ถึงตอนเข้าตาจนขึ้นมาแล้วจะเสียใจก็สายไปแล้ว
       
       (6) วิธีปฏิเสธข้อเสนอของสหรัฐฯ นั้นไม่ยาก (ก) สหรัฐฯ เป็นประชาธิปไตยเหมือนกับไทย ในระบอบประชาธิปไตยของไทย ข้อตกลงนี้จะทำเป็นข้อตกลงลับไม่ได้ ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 (นอกจากจะใช้กลโกงเลี่ยงกฎหมายแบบศรีธนนชัย) จะให้รัฐสภาตัดสิน ฝ่ายคัดค้านก็คงช่วยกันต่อต้านทั้งในที่ประชุมและบนท้องถนน ทำให้เสื่อมเสียมิตรภาพไทย-สหรัฐฯ แน่นอนเข้าใจว่าสหรัฐฯ ต้องเข้าใจ (ข) ถ้าสหรัฐฯ สนใจช่วยคนเอเชียด้านมนุษยธรรมในยามมีภัยพิบัติ จุดที่ใกล้ภัยพิบัติที่สุดคืออินโดนีเซีย ถามดูก็ได้ว่าอินโดนีเซียจะให้ดินแดนใช้เพื่อการนี้ได้หรือไม่ (ค) ถ้าสหรัฐฯ สนใจช่วยไทยให้มีศูนย์ศึกษาภูมิอากาศเพื่อป้องกันภัยพิบัติ (โดยความร่วมมือของ NASA) ไทยยินดีต้อนรับให้เขาส่งผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ที่ทันสมัยล้ำยุคมาประจำอยู่ที่สถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยแห่งใดแห่งหนึ่งของไทยก็ได้
       
       (7) สนามบินอู่ตะเภาปัจจุบันใช้ประโยชน์อเนกประสงค์ เช่น ใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการซ้อมรบ Cobra Gold ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (เกือบทุกปี) ใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติสึนามิ (ค.ศ. 2004) พายุฝน Cyclone Nargis (ค.ศ. 2008) ภารกิจด้านพลเรือนเหล่านี้ เราตอบสนองผลประโยชน์ของประเทศเพื่อนบ้านด้วย ในยามมีภัยพิบัติ สหรัฐฯ หรือจีน หรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลกจะขอเข้ามาช่วยเหลือประชาชนด้านมนุษยธรรม ไทยไม่เคยขัดข้อง และควรเป็นนโยบายเช่นนี้ต่อไป ได้มิตรไม่ใช่สร้างศัตรู
       
       (8) สุดท้าย ตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญของไทยปัจจุบัน ไม่มีใครในแผ่นดินนี้มีอำนาจมอบอำนาจอธิปไตยเหนืออู่ตะเภาให้สหรัฐฯ เอาไปใช้ได้อย่างเสรีเหมือนสมัย 40-50 ปีที่แล้ว (ถ้าใครบิดเบือนดังสมัยนั้นก็คงจะถูกดำเนินคดี) เพราะเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 119, 120, 129 มาตรา 157 บัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ... ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี..." มาตรา 119 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำการใดๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต" มาตรา 120 "ผู้ใดคบคิดกับบุคคลซึ่งกระทำการเพื่อประโยชน์ของรัฐต่างประเทศด้วยความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการรบต่อรัฐหรือในทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี" มาตรา 129 "ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดใดๆ ในหมวดนี้ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น"
       
       อ้างอิง :
       1 ดูข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต หรือ เขียน ธีระวิทย์, "การประชุมสุดยอด ณ กรุงโซลว่าด้วยความมั่นคงจากภัยนิวเคลียร์," ใน http://www.thaiworld.org หมวด "ความมั่นคง".
       2 ดูรายละเอียดใน เขียน ธีระวิทย์, นโยบายต่างประเทศจีน (สกว. และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ, 1998), 386-404, 216-219.
       3 ข้อมูลจาก http://www.thailand-china.com.
       4 ดูรายละเอียดใน เขียน ธีระวิทย์, "เรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนไปทำไม?" ฉลองอาคารครบรอบ 84 ปี โรงเรียนยู่เฉียว (ค.ศ. 2011) หน้า 74; http://www.en.wikipedia.org.
       5 ดูรายละเอียดใน เขียน ธีระวิทย์, "ความผูกพันทางทหารระหว่างไทยกับสหรัฐฯ: วิเคราะห์ในแง่กฎหมาย" จุลสารชุดเบื้องหลังเหตุการณ์ปัจจุบัน ฉบับที่ 60 สิงหาคม 1978 หน้า 1-24.
       
       ที่มา : "อำนาจอธิปไตยเหนืออู่ตะเภาของไทยแลกเปลี่ยนมิได้" เว็บไซต์ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย โดย เขียน ธีระวิทย์ ศาสตราจารย์ กิตติคุณ สาขารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ...


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th : 17 มิถุนายน 2555 12:38 น.