This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

มาร่วมกันทำให้การแปรรูปและการกระจายหุ้น ปตท. เป็น โมฆะ





คาดการณ์เอาไว้ว่า ก่อนวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554 มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน กับพวกอีก 8 คน จะดำเนินการฟ้อง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และกระทรวงการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้แสดงว่าการกระทำที่ขัดผลประโยชน์และธรรมาภิบาลตกเป็นโมฆะ ให้ทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้มาจากอำนาจมหาชนของรัฐและขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล

โดยมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน กับพวกอีก 8 คน ได้ระบุในคำฟ้องความตอนหนึ่งว่า
       
       “เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2544 เวลากลางวัน ติดต่อกันตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีบุคคลบางกลุ่มประกอบด้วยบุคคลในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ บุคคลในคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น กรรมการ ผู้ว่าการฯ และพนักงานของ ปตท. บางคน ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะเข้าแย่งชิงทรัพย์สินของรัฐและประชาชนในกิจการธุรกิจของ ปตท. ไปเป็นของตนและพรรคพวก อันเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ 
       
       คณะบุคคลดังกล่าวข้างต้นจึงได้ร่วมกันทุจริตเชิงนโยบายและดำเนินการร่วมกันเข้าแย่งชิงทรัพย์สินของ ปตท. เข้าเป็นของตนเองและพรรคพวก ด้วยวิธีการอันฉ้อฉล แยบยล”
       

       ทั้งนี้มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินได้ฟ้องว่าการกระทำดังกล่าวไม่ควรจะมีการแปรรูปขายหุ้น ปตท. จากที่กระทรวงการคลังซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐเดิมถือหุ้นอยู่ 100% มาเหลือเพียง 51% เพราะอันที่จริง ปตท.ขณะนั้นมีกำไรกว่า 2 หมื่นล้านบาท อีกทั้งยังสามารถระดมทุนได้ด้วยวิธีการอื่น เช่น การออกหุ้นกู้ การออกพันธบัตรโดยที่รัฐบาลไม่ต้องค้ำประกัน แต่การอ้างว่าต้อง แปรรูปโดยการขายหุ้นสามัญ
       
       ประการต่อมาก็คือการจัดการประเมินราคาสินทรัพย์ของ ปตท. ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อส่งผลทำให้มูลค่าหุ้นที่ขายนั้นต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อให้คนที่ได้หุ้นไปนั้นสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลหลังจากนั้น
       

       ตัวอย่างแรกก็คือ ก่อนการแปรรูป ปตท. ได้ประเมินมูลค่าทางบัญชี (Book Value) ท่อก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ผูกขาดและสร้างมาจากภาษีอากรประชาชนชาวไทยและการค้ำประกันจากรัฐบาล เพื่อการแปรรูปไว้ที่ 46,189 ล้านบาท โดยคิดฐานมาจากอายุการใช้งานเพียง 25 ปี แต่ในความเป็นจริงมีอายุใช้งานถึง 50 ปี ภายหลังต่อมาหลังจาก ปตท. ได้แปรรูปไปแล้วได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษา 2 แห่งประเมินทรัพย์สินท่อก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value) ถึง 105,000 - 120,000 ล้านบาท 
       
       แม้ในเวลาต่อมาศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษา คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 ให้ ปตท.ส่งคืนท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่รัฐ (ตามคำฟ้องของมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค) โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตีประเมินมูลค่าระบบท่อส่งก๊าซเพื่อเรียกคืนตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดราคา 53,393 ล้านบาท แต่ ปตท.ก็ส่งคืนเพียงแค่ 16,176 ล้านบาท
       
       ถึงวันนี้ผ่านมาหลายรัฐบาลก็ยังไม่มีใครสนใจทวงคืนท่อก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์ให้กลับมาเป็นของรัฐตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดแต่ประการใด
       
       เช่นเดียวกันกับกรณี ปตท.ได้ลงทุนสร้างโรงกลั่นขนาดใหญ่เป็นบริษัทในเครือที่ชื่อ บริษัท โรงกลั่นระยอง จำกัด ประมาณ 50,000 ล้านบาท พอหักค่าเสื่อมทางบัญชีปีละ 10% ผ่านไป 10 ปี ในปี พ.ศ.2544 ปตท.จึงบันทึกมูลค่าทางบัญชีโรงกลั่นแห่งนี้ก่อนการแปรรูปเหลือเพียง 1 บาท แต่ในความเป็นจริงโรงกลั่นดังกล่าวสามารถดำเนินการต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 15 ปี อีกทั้งธุรกิจการกลั่นน้ำมันต้องมีใบอนุญาตจากรัฐบาลและต้องผ่านกฎหมายควบคุมสิ่งแวดล้อม จึงไม่มีทางที่จะมีมูลค่าเหลือ 1 บาทได้ โดยต่อมา บริษัท โรงกลั่นระยอง จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในเดือนมิถุนายน 2549 มูลค่ากลับเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 50,000 ล้านบาท
       

       ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ก็เพื่อทำให้การประเมินราคาทรัพย์สินให้ต่ำกว่าตลาด ก็เพื่อให้ปตท.เปิดจองหุ้นให้เหลือเพียง 31-35 บาทต่อหุ้น ซึ่งถือเป็นการทำให้ราคาหุ้นที่ขายออกไปต่ำกว่าความเป็นจริงไปมาก
       
       ยิ่งไปกว่านั้น ทรัพย์สินของ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นทรัพย์สินของคนไทยทั้งชาติ แต่กรรมการของ ปตท. ในสมัยนั้นกลับมีการกำหนดการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ ปตท. จำนวน 25 ล้านหุ้นในราคาพาร์ 10 บาทต่อหุ้น ซึ่งต่ำกว่าหุ้นเปิดจองให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่คณะกรรมการ ปตท.กำหนด ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ทรัพย์สินของบุคคลเหล่านี้เลย 
       
       หลังจากนั้นกระบวนการกระจายหุ้นที่เหลืออีก 775 ล้านหุ้นที่แสนอัปยศ และแสนอัปลักษณ์ที่สุดในโลกก็เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยขายให้กับสถาบันในประเทศ 235 หุ้นที่ขาดความโปร่งใสและธรรมาภิบาลขายให้กับนักลงทุนต่างชาติ 320 ล้านหุ้นส่วนใหญ่ก็เป็นทรัสต์ที่ดูแลทรัพย์สินของผู้อื่นและตรวจสอบไม่ได้และไม่มีการเปิดเผยถึงบุคคลในรัฐบาลบางคนได้รับผลประโยชน์ผ่านกองทุนต่างชาติอันเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน
       
       ส่วนการกระจายหุ้นรายย่อยนั้นมีอยู่เพียง 220 ล้านหุ้น มีการลัดคิวใช้เส้นสามารถเข้าซื้อจองก่อนเวลา 9.30 น. ถึง 863 ราย โดย ปตท.และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้สมคบร่วมกันช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ เข้าแย่งชิงหุ้นด้วยการปิดบัง ซ่อนเร้น นอกจากนี้ยังพบคนมีเส้นที่สามารถเข้าจองซื้อหุ้นได้มากกว่า 1 ใบจองถึง 428 ราย เป็นจำนวนหุ้นกว่า 67 ล้านหุ้น อันเป็นการขัดต่อเงื่อนไขที่ปรากฏตามหนังสือชี้ชวน
       
       ข้อสำคัญคือ 863 รายที่ใช้เส้นลัดคิวซื้อหุ้น ปตท.ก่อน 9.30 น. กับอีก 428 ราย จองซื้อหุ้นได้มากกว่า 1 ใบจองผิดเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวนนั้น มีนามสกุลและเป็นญาติพี่น้องกับนักการเมืองในรัฐบาลเวลานั้นจำนวนมาก
       
       ต่อมาหลังมีการแปรรูป ปตท. แล้ว ก็ได้มีการแต่งตั้งให้ข้าราชการที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องนโยบายพลังงาน และกระทรวงพลังงาน ไปเป็นกรรมการ ปตท. ถือว่ามีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ชัดเจน เพราะด้านหนึ่งก็สวมหมวกเป็นข้าราชการดูแลนโยบายพลังงานให้เป็นธรรมกับประเทศชาติและประชาชน แต่อีกด้านหนึ่งกลับไปเป็นกรรมการที่สามารถรับผลประโยชน์จากกำไรของ ปตท.ได้ 
    
   
       นอกจากนี้คณะกรรมการกิจการพลังงานได้นำมูลค่าท่อก๊าซที่ประชาชนถูกยักยอกไป มาคำนวณปรับอัตราค่าบริการส่งก๊าซให้สูงขึ้นทั้งๆ ที่ ปตท.ไม่ได้ลงทุนเพิ่มเติมในระบบ ก็เพื่อสร้างกำไรให้มากขึ้นขูดรีดคิดค่าใช้บริการขนส่งก๊าซผ่านท่อจากประชาชนมากขึ้น ส่งผลกระทบถึงค่าเอฟทีไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยประชาชนเป็นผู้แบกรับภาระเกินความจำเป็น เพราะข้าราชการประจำกระทรวงพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารสำนักนโยบายและแผนทางพลังงาน ล้วนแต่มีผลประโยชน์ทับซ้อนรับผลประโยชน์จาก ปตท. และบริษัทในเครืออีกจำนวนมาก
       
       ผลประโยชน์ทับซ้อนที่ลามไปถึงฝ่ายการเมือง ทำให้กระทรวงการคลังได้ประเมินค่าเช่าท่อก๊าซและอุปกรณ์ของ ปตท.ระหว่างปี พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2551 เป็นเงิน 1,300 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ ปตท.ได้เรียกเก็บค่าใช้ท่อก๊าซจากประชาชนไปแล้วถึง 137,176 ล้านบาท ซึ่งมีส่วนต่างจากที่กระทรวงการคลังเรียกเก็บถึง 104.52%
       
       สูตรราคาน้ำมันก็เช่นกัน ปตท. ได้อ้างอิงราคาหน้าโรงกลั่นที่สิงคโปร์ + ค่าโสหุ้ยในการส่งน้ำมันสำเร็จรูป+ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง+ค่าปรับปรุงคุณภาพจากมาตรฐานสิงคโปร์มาเป็นมาตรฐานประเทศไทย+ค่าประกันภัยที่ขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์มายังประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงเลย เพราะโรงกลั่นน้ำมันตั้งอยู่ในประเทศไทยอีกทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติส่วนหนึ่งก็ผลิตได้ในประเทศไทย แต่การตั้งสูตรน้ำมันแบบนี้ทำให้ประชาชนต้องแบกรับราคาน้ำมันสูงกว่าปกติถึงลิตรละ 2 บาท จึงเป็นกำไรส่วนเกินให้กับสูตรราคาตลาดเทียมถึงปีละ 80,000 ล้านบาท 
       
       ในทางกลับกันประเทศไทย “ส่งออกน้ำมันในราคาต่ำกว่าที่ขายให้กับคนไทย” โดยใช้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ - ค่าโสหุ้ยในการส่งน้ำมันสำเร็จรูป - ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง - ค่าปรับปรุงคุณภาพจากมาตรฐานสิงคโปร์มาเป็นมาตรฐานประเทศไทย - ค่าประกันภัยที่ขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์มายังประเทศไทย
       
       นอกจากนี้ ปตท. เป็นผู้ประกอบการรายเดียวในกิจการแยกก๊าซธรรมชาติ โดยก๊าซเอ็นจีวีที่ผลิตได้ในประเทศมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้สำหรับภาคครัวเรือนและยานยนต์ทั้งประเทศ แต่ปรากฏว่ากลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการของ ปตท.ต้องนำก๊าซแอลพีจีไปใช้ เป็นผลทำให้ก๊าซแอลพีจีไม่เพียงพอและต้องมีการนำเข้าปีละกว่า 400,000 ตัน และเนื่องจากก๊าซแอลพีจีที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงกว่าที่ผลิตในประเทศ ปตท.จึงขอให้รัฐบาลชดเชยค่าก๊าซแอลพีจีโดยเรียกเก็บจากกองทุนน้ำมัน โดยอ้างว่าเพื่อมาตรึงราคาแอลพีจีให้กับผู้บริโภค
       
       ทุกวันนี้ภาคประชาชน (หุ้งต้มครัวเรือน + ยานยนต์) มีปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจี ประมาณ 2.9 ล้านตัน ในขณะที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้สูงถึง 2.3 ล้านตัน ดังนั้นเงินที่ประชาชนต้องจ่ายในกองทุนจากน้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 4 บาทต่อลิตร, จากเบนซิน 91 จำนวน 3.1 บาทต่อลิตร, จากดีเซลหมุนเร็ว 1.5 บาทต่อลิตร, จากไบโอดีเซล 1 บาทต่อลิตร, จากแก๊สโซฮอลล์ 95 จำนวน 0.70 บาท ฯลฯ โดยอ้างว่าส่วนหนึ่งนำมาอุดหนุนก๊าซแอลพีจีเพื่อช่วยเหลือคนจนนั้น...
       

       แท้ที่จริงแล้ว “การที่ต้องให้ผู้ใช้น้ำมันจ่ายเงินเพิ่มให้เข้ากองทุนน้ำมันเพื่ออุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี โดยไม่แบ่งแยกประเภทการใช้งาน” ก็คือการขูดรีดจากผู้ใช้น้ำมันมาเอื้อประโยชน์ให้กับมหาเศรษฐีกลุ่มปิโตรเคมีของกลุ่ม ปตท.เพื่อให้ได้ต้นทุนแอลพีจีในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ต่ำกว่าราคาตลาดโลกเพื่อสร้างกำไรให้กับผู้ถือหุ้น โดยเอาคนยากจนมาบังหน้าเท่านั้น
       
       นอกจากนี้ การกำหนดสัดส่วนปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ของก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ ซึ่งมาตรฐานสากลกำหนดให้มีได้ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อมา กรมธุรกิจพลังงาน กลับได้ออกประกาศกรมธุรกิจพลังงานเรื่องกำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ พ.ศ. 2552 กำหนดให้คาร์บอนไดออกไซด์ต้องไม่เกินร้อยละ 18 ทำให้ ปตท.สามารถเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงในก๊าซเอ็นจีวีเพิ่มอัตรากำไรสูงขึ้น และให้ประชาชนกลับเป็นผู้แบกรับมากขึ้น
       
       นี่คือกระบวนการที่สร้างกำไรอย่างสุดอัปลักษณ์ที่สุดของ ปตท. ทั้งการแปรรูปที่ไม่โปร่งใส ญาติโกโหติกาได้หุ้น ปตท.ในราคาต่ำกว่าตลาดด้วยการประเมินทรัพย์สินที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และเมื่อแปรรูปได้แล้วก็ยังใช้อำนาจทั้งข้าราชการและนักการเมืองเอื้อประโยชน์ให้เกิดกำไรอย่างมหาศาลและแยบยล เพื่อให้กำไรเหล่านั้นตกอยู่กับคนเพียงไม่กี่คนบนความเดือดร้อนของคนไทยทั้งประเทศอย่างไม่เป็นธรรม
       
       การฟ้องต่อศาลปกครองโดยมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้นำคดีนี้ขึ้นพิสูจน์ความจริง และทำให้การแปรรูปและกระจายหุ้นที่ไม่โปร่งใสและขาดหลักธรรมาภิบาลต้องเป็นโมฆะ เพื่อให้ทรัพย์สินกลับไปสู่สถานะเดิมที่รัฐถือหุ้น 100%
     
  
       ส่วนใครที่เสียหายจากการที่หุ้น ปตท. เป็นโมฆะ ก็ขอให้ไปไล่เบี้ยเอาเองกับเหล่านักการเมืองและข้าราชการที่ทำกรรมหนักต่อประเทศชาติครั้งนี้...

ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th
โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ :2 สิงหาคม 2554 15:19 น.





พร้อมแล้วหรือยัง ชักดาบหนี้ยุโรป อเมริกาพิมพ์แบงก์ไม่หยุด



พร้อมแล้วหรือยัง  ชักดาบหนี้ยุโรป อเมริกาพิมพ์แบงก์ไม่หยุด ไทยค้ำประกันเงินฝากไม่ เกิน 1 ล้านบาท...


   เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554 นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวในสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีซี ว่า ดัชนีหุ้นจะยังร่วงอย่างต่อเนื่อง หลังจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ แสตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินในระยะยาวของสหรัฐอเมริกาจากระดับ AAA มาอยู่ที่ AA+ ว่า ยังมองไม่เห็นความเสี่ยงสำหรับการลงทุนในสหรัฐฯ และการลดอันดับความน่าเชื่อถือของเอสแอนด์พี ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ส่วนเรื่องที่สหรัฐอเมริกามีโอกาสผิดนัดชำระหนี้หรือไม่นั้น นายอลัน กรีนสแปน ตอบกลับว่า
       
       “สหรัฐฯ มีขีดความสามารถในการชำระหนี้ เพราะสามารถพิมพ์ธนบัตรเองได้”
       
       สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีการบริโภคด้วยการนำเข้าจากต่างประเทศมากที่สุดในโลก โดยปีที่แล้ว 2553 มีการนำเข้าถึง 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (สินค้าและบริการนำเข้ามากกว่าส่งออก) ถึง 561,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
       
       ด้วยความที่สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่เงินสกุลของตัวเองไม่ได้ใช้ในประเทศเท่านั้น แต่ความที่ถือว่าตัวเองเป็นตลาดบริโภคขนาดใหญ่ ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นเงินสกุลหลักที่สำคัญในโลกที่เป็นสื่อกลางในการค้าขายในโลกด้วย
       
       การใช้เงินดอลลาร์เป็นสื่อกลางในโลก สหรัฐอเมริกาจึงเป็นประเทศเดียวในโลกจึงไม่ยึดเอาทุนสำรองระหว่างประเทศหรือทองคำมาหนุนหลังอีกต่อไป แต่ปล่อยให้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาเป็น “กระดาษ” ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการค้าขายโดยมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นลงตามกลไกอุปสงค์และอุปทานตลาดโลก
       
       สหรัฐอเมริกาได้นำความได้เปรียบในประเด็นดังกล่าวข้างต้น ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาพิมพ์ธนบัตรได้อย่างไม่จำกัดจำนวน เมื่อพิมพ์ได้ไม่จำกัดจำนวนจึงย่ามใจก่อหนี้สร้างสวัสดิการให้กับคนในประเทศและใช้งบประมาณมหาศาลอย่างไม่จำกัดจำนวน แล้วยังขาดดุลการค้าระหว่างประเทศและขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้อย่างไร้ขีดจำกัด
       

       ปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีหนี้สาธารณะ (ภาครัฐ) สูงที่สุดในโลกคือ 14.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 95 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ซึ่งถือว่าเมื่อเทียบสัดส่วนแล้วยังน้อยกว่าอีกหลายประเทศ ญี่ปุ่น กรีซ อิตาลี สิงคโปร์ ฯลฯ แต่ก็ถือว่าเป็นภาระที่หนักของสหรัฐอเมริกาอยู่ไม่น้อยเพราะเฉพาะดอกเบี้ยอย่างเดียวที่สหรัฐอเมริกาต้องจ่ายต่อปีนั้นมีสูงถึงประมาณ 412,517 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังไม่นับภาระผูกพันกองทุนสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพอีกจำนวนมหาศาลที่กำลังจะกลายเป็นระเบิดทางเศรษฐกิจในอนาคตแน่นอน
       
       แต่การที่สหรัฐอเมริกาได้เพิ่มเพดานหนี้ 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นั้นทำให้ประเทศทั่วโลกต้องตื่นตระหนกกันอีกครั้ง เพราะเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้รู้ว่าสหรัฐอเมริกากำลังยืดหนี้ของตัวเองด้วยการสร้างหนี้ใหม่มาคืนหนี้เก่า เพราะไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ด้วยตัวเอง นอกจากการกู้เพิ่มขึ้นมาอีก โดยถ้าไม่กู้ต่างประเทศก็คงต้องกู้ธนาคารกลางเพื่อให้พิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มอีก
       
       และการส่งสัญญาณเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์ไม่หยุดนั้น ย่อมเท่ากับว่าเงินดอลลาร์จะมีเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ เข้าไปในระบบ ก็ยิ่งทำให้ดอลลาร์ด้อยค่าลงอย่างแน่นอน ยิ่งคนทั้งโลกต่างกลัวการถือครองทรัพย์สินในเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ก็ยิ่งทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าร่วงหนักลงไปอีก
       

       และการที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงนั้น ก็ย่อมทำให้ “เจ้าหนี้” ของสหรัฐอเมริกาจะต้องได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะทรัพย์สินที่แต่ละเจ้าหนี้ของสหรัฐอเมริกาในแต่ละประเทศนั้นต่างถือครองทรัพย์สินเป็นพันธบัตรสหรัฐอเมริกาอยู่ในทุนสำรองจำนวนมาก โดยปัจจุบันรัฐบาลอเมริกาได้ติดหนี้ต่างประเทศมูลค่า 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ 
       
       จีนเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศในพันธบัตรสหรัฐอเมริการายใหญ่ที่สุด ถือพันธบัตรสหรัฐอเมริกาสูงถึง 1.16 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ญี่ปุ่นถือพันธบัตรสหรัฐฯ เป็นอันดับ 2 สูงถึง 8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สหราชอาณาจักรถือพันธบัตรอเมริกาเป็นอันดับ 3 ประมาณ 242,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรวมกันเป็นอันดับ 4 ประมาณ 204.3000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาที่ถือระหว่าง 1-2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คือ ไต้หวัน, บราซิล, กลุ่มศูนย์กลางธนาคารแคริเบียน, ฮ่องกง, รัสเซีย, สวิตเซอร์แลนด์ ตามลำดับ ส่วนประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 52,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 
       
       แต่สหรัฐอเมริกาไม่ได้มีเฉพาะหนี้สาธารณะ (ของรัฐ) ที่เป็นหนี้ต่างประเทศสูงถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น แต่ยังมีหนี้เอกชนในสหรัฐอเมริกาที่เป็นหนี้ต่างประเทศอีก 9.8 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมมีหนี้กับต่างประเทศทั้งรัฐและเอกชนสูงถึง 14.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
       
       ปัญหาหนี้เอกชนที่สูงมากนั้น หากคนทั่วโลกต่างเห็นว่าหนี้ที่ปล่อยกู้ไปนั้นด้อยค่าลง (เพราะเงินดอลลาร์อ่อนค่า) ก็ต้องเร่งเรียกหนี้คืนกลับเร็วมากขึ้น หากมีหนี้ระยะสั้นมากก็จะทำให้เกิดเหตุการณ์เหมือนประเทศไทยในปี 2540 คือเจ้าหนี้เรียกหนี้พร้อมๆ กันจนสถาบันการเงินและลูกหนี้ในประเทศต้องล้มละลายไปเป็นจำนวนมาก เพียงแต่ว่าสหรัฐอเมริกามีเครื่องมืออันมหัศจรรย์ที่สุดในโลกคือให้ธนาคารกลางพิมพ์แบงก์เองออกมาได้อย่างไม่มีจำกัด
       
       และนั่นหมายความว่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลงอีก ทั้งจากปริมาณเงินดอลลาร์ที่เข้าไปในระบบ และจากการเก็งกำไรและการคาดการณ์ในความเสื่อมถอยของเงินดอลลาร์ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐร่วงเร็วขึ้นต่อไปอีก
       
       ใครจะไปยอมให้สหรัฐอเมริกา “ชักดาบ” ไม่ชำระหนี้เอาได้ง่ายๆ คนทั่วโลกจึงต้องกลืนไม่เข้าคายไม่ออกยอมให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาพิมพ์แบงก์ออกมาชำระหนี้ดีกว่าไม่ได้คืนอะไร แต่ทุกประเทศทั่วโลกก็คงหาทางผ่องถ่ายทรัพย์สินดอลลาร์ของตัวเองไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ประเทศที่ฉลาดกว่าก็จะพยายามแปลงเป็นทรัพย์สินในประเทศต่างๆ เปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่นๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งผ่านตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร ตลาดตราสารหนี้ ตลาดทองคำ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย
       
       แม้ธนาคารกลางทุกประเทศทั่วโลกพยายามเปลี่ยนสัดส่วนการถือครองทรัพย์สินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาจากร้อยละ 70.7 และถือครองสกุลยูโรร้อยละ 19.8 เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มาถือดอลลาร์สหรัฐลดลงเหลือร้อยละ 60.7 และถือยูโรร้อยละ 26.6 แต่ก็กลับกลายมาเป็นว่าเงินยูโรกำลังจะมีปัญหาการอ่อนค่าลงอีก เมื่อพบว่า ปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปกำลังมีปัญหาอย่างหนัก กรีซ ซึ่งมีสูงถึงร้อยละ 130 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ได้บานปลายไปถึงอิตาลีซึ่งมีหนี้สาธารณะคิดเป็นร้อยละ 118 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม
       
       ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีหนี้ต่างประเทศรวมกันก็สูงมากถึง 13.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 85 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม แต่ก็ยังดีกว่าสหรัฐอเมริกาตรงที่สหภาพยุโรปยังมีทุนสำรองหนุนหลังสูงถึง 852,622 ล้านเหรียญสหรัฐ เพียงแต่เสียเปรียบสหรัฐอเมริกาตรงที่ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกายังคงเป็นสกุลเงินหลักที่พิมพ์ออกใช้ทั่วโลกอย่างไม่มีขีดจำกัดจำนวน และสหภาพยุโรปต้องใช้หลายประเทศให้ความเห็นชอบในมาตรการทางการเงิน
       
       ซึ่งแม้ว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และสหภาพยุโรป จะอัดฉีดเงินเข้าไปช่วยกรีซ แต่ก็เป็นเพียงการประคองสถานการณ์เท่านั้น เพราะโดยเนื้อแท้แล้ววิกฤตหนี้ในยุโรปได้เกินกำลังที่สหภาพยุโรปจะเอาเงินของตัวเองไปอุ้มอีกหลายประเทศที่กำลังมีปัญหาที่บานปลายอย่างไร้ขีดจำกัด แนวโน้มเช่นนี้จึงมีโอกาสชักดาบ ตัดลดหนี้สูง 
       
       ในขณะที่กลุ่มสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาต่างก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนักต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี เพราะแท้ที่จริงแล้วความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตได้ย้ายไปอยู่ภูมิภาคเอเชียเป็นส่วนใหญ่แล้ว สืบเนื่องมาจากสิทธิแรงงานและรัฐสวัสดิการในยุโรปอยู่ในระดับสูงจึงไม่สามารถที่จะแข่งขันด้านการผลิต ฐานการผลิตจึงเคลื่อนย้ายไปอย่างยาวนานส่งผลทำให้อัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูงทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยสเปนมีอัตราการว่างงานร้อยละ 20.89, กรีซร้อยละ 15.9, ฮังการีร้อยละ 10.80, ฝรั่งเศสร้อยละ 9.7, อเมริการ้อยละ 9.1 ฯลฯ 
       
       Quantitative Easing (QE)ของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาจึงไม่ได้ผล เพราะไม่ว่าจะเป็น QE 1 ที่ธนาคารกลางพิมพ์แบงก์ออกมา 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อซื้อหนี้เสียธนาคาร หรือการออกมาตรการ QE 2 ที่ธนาคารกลางพิมพ์แบงก์ออกมาอีก 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แทรกแซงซื้อตลาดพันธบัตรให้มีราคาสูงเพื่อให้อัตราผลตอบแทนต่ำลงไม่น่าลงทุนนั้น ก็เพื่อหวังว่าการพิมพ์เงินมโหฬารถึง 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จะส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ ไปปล่อยกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น กลับกลายเป็นว่าเงินเหล่านั้นได้ไหลออกไปนอกประเทศเป็นส่วนใหญ่เพื่อแปลงเป็นเงินและสินทรัพย์ในสกุลเงินอื่น เพราะต่างก็เล็งเห็นทั่วโลกพร้อมๆ กันแล้วว่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลงทั่วโลก ด้วยเหตุนี้การว่างงานในสหรัฐอเมริกาจึงไม่ได้ผลมากนักเทียบกับเม็ดเงินที่ลงไปอย่างมหาศาลเช่นนี้
       
       และดูเหมือนว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาส่งสัญญาณจะเตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐอเมริการอบใหม่ ซึ่งแนวโน้มก็คือการออกมาตรการ QE 3 ซึ่งอาจสูงถึง 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เข้าไปซื้อตลาดพันธบัตรระยะยาวในตลาดอีก โดยนายพอล ครุ๊กแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล พยายามให้ความเห็นไปยังรัฐบาลให้ออกมาตรการพิมพ์แบงก์ให้มากกว่าเดิมเพื่อมากระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ผลถึงประมาณ 8 - 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
       
       ถึงวันนี้ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ไม่ได้ช่วยเรื่องการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ และยุโรปเท่าไรนัก เพราะไม่ช่วยทำให้ฐานการผลิตย้ายกลับมาที่สหรัฐอเมริกาเพื่อสร้างงานได้มากขึ้นนัก แถมยังทำให้เกิดปัญหาอัตราเงินเฟ้อมากขึ้นด้วย เพราะอย่างไรเสียสหรัฐอเมริกาและยุโรปไม่ได้มีปัญหาเรื่องแค่ค่าเงิน แต่ยังมีต้นทุนการผลิตที่สูงที่ไม่สามารถแข่งขันได้ อีกทั้งจีนก็ยังใช้นโยบายค่าเงินหยวนอ่อนค่าเกินกว่าความเป็นจริง เพื่อรักษาตลาดอเมริกาและยุโรปซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดให้ใช้สินค้าจากประเทศจีนต่อไป และโครงสร้างของแต่ละประเทศที่ย้ายฐานการผลิตไปอย่างยาวนั้นได้วางโครงข่ายและสาธารณูปโภคการผลิตเกินกว่าที่จะย้ายกลับไปที่สหรัฐอเมริกาได้ง่าย
       
       หมายความว่านับจากวันนี้ เงินดอลาร์สหรัฐและเงินยูโรจะอ่อนค่าต่อไปแน่นอน!
       
       ในขณะที่จีนซึ่งมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก ก็ไม่ยอมปล่อยให้เงินหยวนออกไปตลาดนอกประเทศเพื่อใช้เป็นเงินสกุลหลักของโลก เพราะจีนเป็นประเทศขนาดใหญ่ไม่ต้องการให้ต่างชาติมาเก็งกำไรในสกุลเงินหยวนของตัวเอง (ซึ่งอ่อนค่าเกินความเป็นจริง) ด้วยเหตุนี้จีนจึงแบ่งกระดานตลาดหุ้นชัดเจน ในกระดานหุ้นต่างประเทศนั้นไม่อนุญาตให้มาแปลงเป็นเงินสกุลหยวนโดยให้ซื้อขายหุ้นในสกุลเงินต่างประเทศเพื่อเป็นการตัดการเก็งกำไรค่าเงินหยวน แถมทุนที่ไหลเข้าไปในประเทศจีนเอาเข้าจริงก็ถอนกลับออกไม่ได้ง่ายๆ เสียด้วย ส่วนเงินดอลลาร์สหรัฐที่อยู่ในทุนสำรองของจีนอย่างมหาศาล จีนก็ใช้ไปซื้อสินค้าที่จับต้องได้ สินแร่ ที่สำคัญของโลก เช่น ทองคำ เงิน ทองแดง เหล็ก เพื่อให้ทรัพย์สินของจีนนั้นไม่ด้อยค่าตามดอลลาร์และยูโร แต่ก็ยังทำได้ไม่มากพอในเวลาที่จำกัด
       
       นั่นเป็นสาเหตุที่เงินทั่วโลกไหลเข้ามายังประเทศที่เปิดรับในการเก็งกำไรค่าเงิน และผลตอบแทนอย่างภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะรัฐบาลไทยซึ่งยังไร้ยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ ทันทีที่มีนโยบายประชานิยมสุดขั้ว เร่งอัตราเงินเฟ้อ ทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น อีกทั้งยังประกาศล่วงหน้าจะใช้นโยบายค่าเงินบาทแข็ง ย่อมทำให้เงินทุนจากนอกไหลเข้าออกตลาดหุ้น พันธบัตร ตราสารหนี้ เพื่อทำกำไรสูบความมั่งคั่งกลับคืนไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้อีกหลายระลอก 
       
       ดังนั้นใครกู้หนี้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในเวลานี้จึงมีแนวโน้มกำไรอัตราแลกเปลี่ยนสูง และใครมีเงินดอลลาร์เก็บเอาไว้ก็คงรีบเอาออกมาขายให้เร็วที่สุดเพื่อไม่ให้ด้อยค่าไปมากกว่านี้ และกองทุนต่างชาติที่หัวใสกว่านั้นก็คงจะกู้เงินดอลลาร์สหรัฐ (ที่กำลังด้อยค่าลง) เอามาแปลงเป็นเงินบาทกับแบงก์ชาติเพื่อเข้าซื้อหุ้นไทย พันธบัตรไทย ตราสารหนี้ไทย เพื่อเก็งกำไรทั้งจากค่าเงินและการปั่นหุ้น ซึ่งก็จะเป็นการเร่งทำให้เงินบาทแข็งเร็วขึ้นไปอีก
       
       เวลานักลงทุนเห็นการไหลทะลักของทุนนอกเข้าตลาดหุ้นที่มีความเสี่ยงและผันผวน ก็ทำให้คนไทยบางส่วนหนีไปซื้อทองคำจนราคาทะยานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก และจนถึงขั้นในบางวันทองคำแท่งขาดตลาดไม่มีขายเสียด้วยซ้ำในสัปดาห์ที่ผ่านมา
       
       ยิ่งเดือนสิงหาคม 2555 ที่แบงก์ชาติของไทยจะเริ่มใช้กฎหมายสถาบันประกันเงินฝาก ที่จะค้ำประกันเงินผู้ฝากได้เพียงรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 ธนาคาร ก็ยิ่งจะต้องน่าเป็นห่วงว่าผู้ฝากเงินธนาคารซึ่งเคยเป็นคนไทยที่ไม่ต้องการความเสี่ยงต้องเรียนรู้ที่จะรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแม้กระทั่ง “ฝากเงินในธนาคาร”
       
       เห็นความผันผวนของเศรษฐกิจโลกขนาดนี้ทำให้นึกถึงความน่าอัศจรรย์ของ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่ให้มองเห็นล่วงหน้าให้เก็บสะสมทองคำในคลังหลวงมาล่วงหน้าหลายปี และนึกถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นเศรษฐกิจของจริง กินได้ และสัมผัสได้ ที่ไม่ใช่อยู่บนเศรษฐกิจเทียมบนการเก็งกำไรของโลกที่กำลังเสื่อมถอยในทุกวันนี้...

ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th
โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ :9 สิงหาคม 2554 16:26 น.



ทองคำ ค่าเงิน หุ้น บทเรียนอีกครั้งจาก เฮดจ์ฟันด์


                                 แผนภูมิการเชื่อมโยงหนี้ระหว่างกันของ 5 ประเทศที่เศรษฐกิจสั่นคลอน กรีซ อิตาลี ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน โดยมีเจ้าหนี้รายใหญ่คือ เยอรมนี อังกฤษ และฝรั่งเศส

“ทองคำ ค่าเงิน หุ้น” บทเรียนอีกครั้งจากการทุบถล่มแล้วช้อนซื้อของ “เฮดจ์ฟันด์!?”

  สัปดาห์ที่ผ่านมาเศรษฐกิจโดยเฉพาะในตลาดทุนนั้นถือได้ว่ามีความผันผวนอย่างหนักและต่อเนื่อง หุ้น น้ำมัน ทองคำ และค่าเงิน ซึ่งเหล่าเฮดจ์ฟันด์ทั้งหลายได้เข้าไป “ปั่น” ก่อนหน้านี้มาอย่างยาวนาน ต่างก็ได้ถูกเทขายทำกำไรอย่างพร้อมเพรียงกัน
       
       การเทขายในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างหนักหน่วงที่ทำให้ราคาหุ้นดิ่งลงเหว ก็ได้ทำให้นักเล่นหุ้นประเภทที่เล่นมาร์จิ้น และเล่นฟิวเจอร์ ต้องถูกบังคับขายตามกฎเกณฑ์ทำให้กองทุนหัวใสเข้าช้อนซื้อตอนที่เหล่าแมลงเม่าไทยต้องเจ๊งระเนนระนาดและทำให้ราคาหุ้นและทองคำดีดตัวกลับ
       
       “ทองคำ” ก็เช่นกันได้ถูกกองทุนเฮดจ์ฟันด์เทขายสัญญาทองคำออกมานอกตลาด และทำให้ราคาทองคำทั่วโลกดิ่งลงอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และทำให้นักเล่นทองประเภทฟิวเจอร์โกลด์ต้องถูกบังคับขายเจ๊งกันไปอีกจำนวนมากเช่นกัน แม้แต่สมาคมทองคำของไทยก็ฉวยโอกาสกำหนดราคาซื้อขายและค่าธรรมเนียมเกินกว่าปกติจากที่เคยใช้สูตรคำนวณของราคาทองคำตลาดโลกเพื่อกลบผลขาดทุนของตัวเอง
       
       แต่การที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่นัดหมายกันทั่วโลกเทขายกันอย่างพร้อมเพรียงกันนั้นไม่ใช่เรื่องธรรมดา แต่เป็นเพราะปัญหาเศรษฐกิจของโลกที่ต้องเผชิญหน้าอยู่ในเวลานี้ก็คือปัญหาหนี้สินอันมโหฬารและปัญหาทางเศรษฐกิจชะลอตัวทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ที่ทำทีว่าจะเป็นลูกโซ่ใหญ่โตกว้างขวางลามปามกระทบไปทุกประเทศทั่วโลก
       โดยเฉพาะ “ธนาคาร” ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป หลายแห่งถูกทยอยลดความน่าเชื่อถือลงอย่างพร้อมเพรียงกัน และธนาคารเหล่านี้ก็เป็นแหล่งทุนอันสำคัญที่ทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์ต้องขายทำกำไรคืนโดยเร็วเพื่อถือเป็นเงินสดรองรับกับสภาพวิกฤตที่กำลังจะมาถึง

       
       เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ก็คือการที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาพิมพ์แบงก์ออกมาเพื่อซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพออกจากธนาคาร (QE 1) และเพื่อซื้อแทรกแซงตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกา (QE2) ตามมาด้วยมาตรการเทขายพันธบัตรระยะสั้นแล้วมาซื้อพันธบัตรระยะยาวโดยมุ่งหวังจะกดอัตราดอกเบี้ยให้ลดลง (Operation Twist) ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าสหรัฐอเมริกาออกอาวุธทางเศรษฐกิจใกล้หมดแล้ว แต่อัตราการว่างงานก็ยังสูงอยู่ในระดับ 9.1%
       
       ซึ่งความจริงแล้วการพิมพ์แบงก์ดอลลาร์สหรัฐอเมริกานั้นก็เหมือนการ “ชักดาบ”เบี้ยวหนี้ทางอ้อม เพราะทำให้หนี้ของสหรัฐฯ ในแต่ละประเทศเป็นเจ้าหนี้อยู่นั้นด้อยค่าลงไปเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศเจ้าหนี้เหล่านั้น ตรงนี้เองทำให้เหล่าเฮดจ์ฟันด์เห็นโอกาสอันมหาศาลที่จะเร่งแปลงสินทรัพย์ของตัวเองจากดอลลาร์ให้เป็นสินทรัพย์อย่างอื่นในประเทศอื่นๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
       
       มาตรการของสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมาแทนที่จะทำให้อัตราว่างงาน กลับเร่งทำให้ธนาคารสหรัฐอเมริกามีเงินเหลือล้นกลับไปลงทุนในกองทุนเฮดจ์ฟันด์มากขึ้น นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์ เข้าซื้อและปั่นหุ้นในประเทศภูมิภาคเอเชียและประเทศไทย (ที่มีแนวโน้มว่าค่าเงินบาทจะแข็งและเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง) เงินนอกร้อนไหลเข้าประเทศทำให้ราคาหุ้นดีดตัวสูงขึ้นชนิดที่นักการเมืองเอาไปคุยโวกันอย่างสนุกสนานและเอิกเกริก จนไม่มีใครสนใจฟังคำเตือนเรื่องการควบคุมกองทุนจากต่างประเทศที่หวังการลงทุนระยะสั้นแบบตีหัวเข้าบ้านที่จะมาทำให้เศรษฐกิจไทยต้องปั่นป่วน
       
       แต่การเทขายระลอกใหญ่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ทำให้แมลงเม่าไทยและแมลงเม่าทั่วโลกตกกลายเป็นเหยื่อของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งได้สูบความมั่งคั่งของแต่ละประเทศกลับไปโดยได้ทำกำไรจากการเทขายในหุ้น ทองคำ และน้ำมันของตัวเองที่ได้ปั่นเอาไว้แล้ว ยังได้กำไรค่าเงินของแต่ละประเทศกลับไปอีกด้วย (โดยแลกกลับได้เงินดอลลาร์ไปมากขึ้น) โดยไม่ต้องมีการผลิตใดๆ ทั้งสิ้น
       
       ความจริงแล้วคนส่วนใหญ่ไม่ใช่นักเล่นหุ้นก็อาจจะคิดว่าไม่เดือดร้อนอะไร แต่ในความเป็นจริงการปล่อยให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์เข้าไปเล่นค่าเงินบาทได้ก็คือการทำให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบมีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นถือเป็นการบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันภาคการผลิตไปด้วย ในอีกทางหนึ่งการสูบความมั่งคั่งจากคนในประเทศไทยได้ก็คือ “การสูบกำลังซื้อของคนภายในประเทศ” ให้ลดลงแล้วตกไปอยู่ในมือของชาติอื่นโดยไม่จำเป็น
       
       กลยุทธ์ของเฮดจ์ฟันด์ก็คือ “ปั่นขึ้นให้สูงแล้วเทขาย ทุบให้ต่ำแล้วกลับเข้าช้อนซื้อ” ยังคงเป็นวัฏจักรที่จะเกิดขึ้นต่อไปอีกหลายระลอก โดยเฉพาะในสภาวะที่ธนาคารในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีปัญหามาก ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งทำให้เหล่าเฮดจ์ฟันด์เร่งขบวนการสูบความมั่งคั่งจากประเทศต่างๆ ให้เร็วขึ้นเป็น “วันต่อวัน” และปัจจุบันเร็วกว่านั้นเป็น “นาทีต่อนาที” โดยเน้นการทำกำไรจากพวกเล่นหุ้นแบบมาร์จิ้นและฟิวเจอร์ที่ต้องถูกบังคับขายหากราคาต่ำกว่าที่กำหนด เพียงแต่บทเรียนสัปดาห์ที่ผ่านมาน่าจะทำให้นักลงทุนและแมลงเม่าทั่วโลกได้สติมากขึ้น (สักระยะหนึ่ง)
       
       แต่ปัญหาในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปน่าจะหนักและสาหัสยิ่งกว่าอเมริกา เพราะพิมพ์เงินขึ้นใช้ตามใจชอบไม่ได้เหมือนสหรัฐอเมริกาและยังมีการคานอำนาจระหว่างกันโดยหลายประเทศ
       
       แผนภูมิภาพแสดงความสัมพันธ์เชิงหนี้จากนิวยอร์กไทมส์ที่แสดงผลเมื่อสิ้นปี 2553 ก็จะเห็นได้ว่า กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี โปรตุเกส และสเปน ซึ่งถือว่าเป็น 5 ประเทศที่กำลังมีปัญหาธนาคารสั่นคลอนและรัฐบาลหนี้สินท่วมท้นนั้น หากมีปัญหา “ชักดาบ” หรือ “ธนาคารล้ม” ก็จะลามไปยังเจ้าหนี้รายใหญ่ทั้งธนาคารและรัฐบาลของอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี อย่างแน่นอน

ตัวเลขครึ่งปีแรกของปีนี้ กรีซมีหนี้ต่างประเทศ (ทั้งในส่วนของธนาคารและภาครัฐ) เพิ่มขึ้นเป็น 5.32 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีทุนสำรองอยู่เพียง 6.84 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 77 เท่าของทุนสำรอง)อิตาลี มีหนี้ต่างประเทศรวม 2.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีทุนสำรองอยู่เพียง 1.69 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 13 เท่าของทุนสำรอง), สเปน มีหนี้ต่างประเทศรวม 1.89 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีทุนสำรองอยู่เพียง 3.38 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 55 เท่าของทุนสำรอง), โปรตุเกส มีหนี้ต่างประเทศรวม 4.98 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีทุนสำรองอยู่เพียง 2.22 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 22 เท่าของทุนสำรอง) , ไอร์แลนด์ มีหนี้ต่างประเทศ 1.15 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีทุนสำรองอยู่เพียง 2.11 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 54 เท่าของทุนสำรอง)
       
       รวมหนี้ต่างประเทศของ 5 ประเทศนี้คือ 5.235 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยที่ประเทศทั้ง 5 ประเทศเหล่านี้ มีหนี้ต่างประเทศมากกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศหลายสิบเท่าตัว และเป็น 5 ประเทศที่ต่างขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนักทั้งสิ้น เปรียบเสมือนว่า 5 ประเทศนี้มีหนี้สินต่างประเทศมหาศาลมากกว่าสินทรัพย์ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ แล้วค้าขายต่างประเทศยังขาดทุนทุกปีอีกไม่รู้จะเอารายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่ไหนมาชำระหนี้ (สถานภาพคล้ายประเทศไทยก่อนปี 2540)
       
       แต่พอหันมาดู 3 ประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ของ 5 ประเทศเหล่านี้ก็มีปัญหาอยู่ไม่น้อยเช่นกัน โดย ฝรั่งเศส มีหนี้ต่างประเทศ 4.698 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 1.82 แสนล้านเหรียญ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 26 เท่าของทุนสำรอง) ส่วนอังกฤษหนักสุดมีหนี้ต่างประเทศ 8.98 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียง 1.14 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 79 เท่าของทุนสำรอง) และทั้ง 2 ประเทศนี้ก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนักทุกปีเช่นกัน
       
       ส่วนเยอรมนีดูฐานะดีกว่าเพื่อนในกลุ่มนี้ เป็นประเทศที่มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดปีละ 1.62 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และมีทองคำมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา โดยมีอยู่ประมาณ 3.4 พันตัน แต่ก็ยังมีหนี้ต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนรวมสูงถึง 4.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และมีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียง 2.31 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 20 เท่าของทุนสำรอง)
       
       การล้มละลายของยุโรปครั้งนี้จึงย่อมต้องเกิดขึ้นแน่นอน เพียงแต่ว่าจะดิ่งลงแรงขนาดไหน ขึ้นอยู่กับ “หนี้ระยะสั้น” ของแต่ละประเทศนั้นถูกทวงคืนเร็วมากน้อยแค่ไหน และปรับโครงสร้างหนี้ยืดระยะยาวออกไปได้หรือไม่ เพราะยิ่งออกพันธบัตรกู้เงินตราต่างประเทศออกมามากในยามที่ทั่วโลกเห็นสภาพนี้แล้ว ถ้าไม่ถูกโก่งราคาอัตราดอกเบี้ยสูงอย่างหนักก็อาจจะหมดหนทางกู้ ผลก็คือการ “ชักดาบ” เบี้ยวหนี้ หรือบีบเจ้าหนี้ให้ “ลด-ยืดหนี้” หรืออาจถึงขั้นไม่ชำระหนี้เอาดื้อๆ ซึ่งผลร้ายจะทำให้ธนาคารหลายแห่งโดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่นั้นได้รับผลกระทบลามเป็นลูกโซ่ไปเป็นจำนวนมาก 
       
       และหากความเสียหายของสหรัฐอเมริกาและยุโรปเกิดขึ้น ก็ย่อมส่งผลลามไปถึงภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก เพราะถ้าเศรษฐกิจยุโรปและอเมริกาถดถอยกำลังซื้อหดตัวก็เท่ากับตลาดส่งออกของทั่วโลกย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่เว้นแม้แต่จีนและประเทศไทย
       
       การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารในยุโรปและอเมริกาในช่วงนี้ และการเข้าออกเร็วขึ้นของเฮดจ์ฟันด์จึงเป็นเพียง “ยอดภูเขา” ของน้ำแข็งที่เพิ่งเริ่มแสดงอาการออกมาเท่านั้น โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ระบุว่าทางรอดของธนาคารในยุโรปต้องเพิ่มทุนสูงถึง 4.6 แสนล้านยูโร (6.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธนาคารหลายแห่งในยุโรปเรียกเงินคืนบางส่วนจากเฮดจ์ฟันด์เพื่อมาพยุงฐานะและเพิ่มทุนให้กับธนาคารในยุโรป
       
       ทั้งนี้ นางคริสตี ลาการ์ด กรรมการผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ยอมรับเมื่อการประชุมวันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่กรุงวอชิงตันว่า “ศักยภาพการปล่อยกู้ของเราที่มีมูลค่าเกือบ 4 แสนล้านดอลลาร์เป็นตัวเลขที่พอดีสำหรับเศรษฐกิจทุกวันนี้ แต่อาจจะไม่พอหากเกิดวิกฤตการเงินรุนแรงในประเทศต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องกู้เงินจากไอเอ็มเอฟในเวลาเร่งด่วน”
       
       แปลว่าหากมีเงินไม่พอก็มีโอกาสที่ไอเอ็มเอฟ อาจจะเทขายทองคำบางส่วนจากที่มีอยู่ 2,800 ตันออกมาได้อีก
       

       ประเทศไทยจึงต้องเตรียมตัวรับกับสภาพวิกฤตที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทัน รัฐบาลควรต้องพิจารณาถึงการจัดการกับขบวนการสูบความมั่งคั่งของเฮดจ์ฟันด์ และควรสร้างเสริมอุปนิสัยให้กับคนไทยรู้จักการออมและการประหยัดใช้เงินอย่างมีเหตุผล และใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพื่อเตรียมเงินสำรองเอาไว้รองรับวิกฤตที่กำลังจะมาถึง ไม่ใช่เน้นแต่ส่งเสริมกระตุ้นให้ประชาชนสร้างหนี้เร่งใช้จ่ายเพื่อหวังการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวเพื่อ “ใช้เป็นตัวเลข” ที่จะได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ขาดดุลกันได้มากขึ้น
       
       ท่ามกลางเศรษฐกิจทุนนิยมสุดขั้วกำลังทำร้ายและทำลายตัวเองอยู่ในขณะนี้ ปรากฏการณ์นี้ยิ่งเป็นการยืนยันในพระอัจฉริยภาพอีกครั้งหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงพระราชทานปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งจะทำให้ผู้นำไปปฏิบัตินั้นสามารถอยู่รอดได้ในยามวิกฤต 


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th
โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ :27 กันยายน 2554 14:50 น.



เรื่องนี้ไม่ถึงสรยุทธแน่...

                          
ภาพที่ 1 แสดงตารางผลกำไรสุทธิของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หลังการแปรรูป 10 ปี
       ผลกำไรสุทธิอันมหาศาลกับ ปตท.นับตั้งแต่การแปรรูปตลอดระยะเวลา 10 ปี รวมทั้งสิ้น 774,167 ล้านบาท (ตามภาพที่ 1)

“ปตท. จึงต้องแสวงหาพลังงานให้พอเพียง และลงทุนอีกมหาศาลกับพลังงานใหม่ๆเพื่ออนาคตของคนไทยทุกคน” 
       
        นี่เป็นข้ออ้างในปีนี้ที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พยายามออกโฆษณาให้เหตุผลว่าทำไม ปตท.ต้องมีกำไรอย่างมหาศาล บนความรู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจของประชาชนทุกหย่อมหญ้ากับราคาสินค้าที่มีราคาแพงสูงขึ้นมากจากราคาน้ำมัน
       
        เพราะความลับไม่มีในโลกได้ตลอดกาล เมื่อข้อมูลได้ปรากฏความจริงว่า ปตท. ได้กำไรเกินสมควรมาเป็นเวลาหลายปีติดต่อกันแล้ว ภายหลังจากการแปรรูปเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ได้แต่มุ่งแสวงหาผลกำไรสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ






ผลกำไรสุทธิอันมหาศาลกับ ปตท.นับตั้งแต่การแปรรูปตลอดระยะเวลา 10 ปี รวมทั้งสิ้น 774,167 ล้านบาท (ตามภาพที่ 1)
      
       คิดแล้ว ปตท. กำไรสุทธิที่ได้ จะต้องแบ่งคืนให้กับผู้ลงทุนเอกชน (ไม่ว่าจะเป็นในรูปการปันผลหรือกลับมาลงทุนทรัพย์สินเพื่อเพิ่มมูลค่าหุ้น) รวมทั้งสิ้น 10 ปีไม่ต่ำกว่า 296,000 ล้านบาท ทั้งๆ ที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เงินจากการระดมทุนและเพิ่มทุนเพียงไม่ถึง 28,277 ล้านบาท

       
        หมายความว่าการได้เงินลงทุนทั้งหมด 28,277 ล้านบาท ที่รัฐบาลทักษิณอ้างว่ามีความจำเป็น เพื่อไม่ต้องการสร้างหนี้สาธารณะนั้น เรากลับต้องจ่ายเฉพาะอัตราผลตอบแทนคืนให้กับเงินลงทุนเหล่านี้ในอัตราเกือบ 23% ในปีแรกๆ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
       
       จนมาถึงปี 2554 ต้องจ่ายอัตราผลตอบแทนคืนให้กับผู้ถือหุ้นเอกชน 49% สูงถึง 61,361 ล้านบาท หรือคิดเป็นเกือบ 120% เงินลงทุนของผู้ถือหุ้นเอกชน 28,277 ล้านบาท
       
        เงิน 28,277 ล้านบาท ที่ได้มาจากการกระจายหุ้น แลเพิ่มทุนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แต่กำไรสุทธิตลอด 10 ปี ที่เงินลงทุนเหล่านี้ได้ไปคือ 296,000 ล้านบาท และเงินผลตอบแทนเช่นนี้จะยังเพิ่มขึ้นอย่างไร้ขีดจำกัดและเป็นอมตะต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา
       
        ถือเป็นการขายทรัพย์สินของชาติในราคาที่ไม่มีความเป็นธรรมอย่างยิ่ง และเหตุผลที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ “โง่” หรือไม่ก็ “ฉ้อฉล” เช่นนี้ได้ ก็เพราะ…
      
        1. มีการขายหุ้นทรัพย์สินของชาติในราคาถูกๆ ที่ไม่สะท้อนความเป็นจริง และ
      
       2. มีการทำกำไรอย่างมหาศาลด้วยการขึ้นราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขูดรีดขูดเนื้อเอากับประชาชนเพื่อให้กำไรตกอยู่กับผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ
      
        ตัวอย่างแรกก็คือ ก่อนการแปรรูป ปตท. ได้มีการประเมินมูลค่าทางบัญชี (Book Value) ท่อก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ผูกขาดและสร้างมาจากภาษีอากรของประชาชนชาวไทย และการค้ำประกันจากรัฐบาลเพื่อการแปรรูปไว้ที่ 46,189 ล้านบาท โดยคิดฐานมาจากอายุการใช้งานเพียง 25 ปี แต่ในความเป็นจริงอายุการใช้งานมากกว่าถึง 50 ปี ภายหลังต่อมาหลังจาก ปตท. ได้แปรรูปไปแล้วมีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา 2 แห่งประเมินทรัพย์สินท่อก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value) ถึง 105,000 -120,000 ล้านบาท และ ปตท. ก็นำเอาข้ออ้างการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของท่อก๊าซเช่นนี้มาคำนวณคิดค่าไฟฟ้าขูดเลือดเนื้อเอากับประชาชนตาดำๆจริงหรือไม่? 

     
                                           
ภาพที่ 2 แสดงราคาตลาดล่วงหน้าก๊าซธรรมชาติที่นิวยอร์ก ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
       ปตท. มักจะอ้างตลาดโลกที่ผ่านมาว่ามีความจำเป็นต้องขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติตามตลาดโลก แต่ผลสำรวจความจริงที่ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้เชี่ยวชาญในการติดตามด้านพลังงานกลับพบว่าราคาก๊าซธรรมชาติทยอยลดราคาลงมาเรื่อยๆ แต่ประเทศไทยกับราคาก๊าซยังขึ้นส่วนทางอย่างต่อเนื่อง (ตามภาพที่ 2) 
       
    แม้ในเวลาต่อมาศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษา คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 ให้ ปตท. ส่งคืนท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่รัฐ (ตามคำฟ้องของมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค) โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้เคยประเมินมูลค่าระบบท่อก๊าซเพื่อเรียกคืนตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด 53,393 ล้านบาท แต่ ปตท. ก็ได้ส่งคืนเพียงแค่ 16,176 ล้านบาท
       
        ผลประโยชน์ทับซ้อนที่ลามไปถึงฝ่ายการเมือง ทำให้กระทรวงการคลังได้ประเมินค่าเช่าท่อก๊าซและอุปกรณ์ของ ปตท. ระหว่างปี พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2551 คิดเป็นเงิน 1,300 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ ปตท. ได้เรียกเก็บค่าใช้ท่อก๊าซจากประชาชนไปแล้วถึง 137,176 ล้านบาท ซึ่งมีส่วนต่างจากที่กระทรวงการคลังเรียกเก็บถึง 104.52%
       
        เมื่อเทียบต้นทุนก๊าซที่ ปตท.สผ. (บริษัทลูกของ ปตท.) ซึ่งซื้อก๊าซธรรมชาติจากปากหลุมในอ่าวไทยราคาลูบบาศก์ฟุตละ 10.25 สตางค์ ในขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติจากปากหลุมประเทศพม่าอยู่ที่ 16.05 สตางค์ จึงย่อมเกิดคำถามว่า ปตท.สผ.ได้ราคาต้นทุนถูกเกินจริง (ซึ่งทำให้จ่ายค่าภาคหลวงต่ำเกินจริง) แล้วมาขายราคาเกินจริงให้กับประชาชนหรือไม่?
   ซ้ำร้ายยิ่งไปกว่านั้น เมื่อ ผศ.ประสาท มีแต้ม นักวิชาการที่ติดตามเรื่องพลังงานอย่างต่อเนื่องกลับพบความผิดปกติด้านราคาอย่างน่าสนใจยิ่ง
       
                                       
ภาพที่ 3 แสดงกราฟแสดงให้เห็นว่า ปตท.ขายก๊าซให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแพงกว่าเอกชนรายอื่น
       ซ้ำร้ายยิ่งไปกว่านั้น เมื่อ ผศ.ประสาท มีแต้ม นักวิชาการที่ติดตามเรื่องพลังงานอย่างต่อเนื่องกลับพบความผิดปกติด้านราคาอย่างน่าสนใจยิ่ง
       ในปี 2554 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยซื้อราคาก๊าซจาก ปตท. แพงกว่าราคาก๊าซที่สหรัฐอเมริกาประมาณ 70 บาท/ล้านบีทียู หรือคิดเป็นส่วนต่างประมาณ 2.52 บาท/กิโลกรัม)
       ปี 2554 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซื้อราคาก๊าซจาก ปตท. แพงกว่าราคาก๊าซที่เอกชนรายอื่นในประเทศไทยซื้อประมาณ 30 บาท/ล้านบีทียู หรือคิดเป็นส่วนต่างประมาณ 1.08 บาท/กิโลกรัม) 

       
       เมื่อก๊าซ 1 ล้านบีทียู ผลิตไฟฟ้าได้ 120 หน่วย ต้นทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจึงแพงกว่าเอกชน 0.25 บาท/หน่วย เมื่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยผลิตได้ 50,195 ล้านหน่วย
       
       แปลความสรุปได้ว่าปี 2554 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยใช้ต้นทุนจาก ปตท. แพงไป 12,500 ล้านบาท!!!
      
       ภาระของ ปตท. ที่ขายไฟให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แพงกว่าประชาชนนั้น แท้ที่จริงภาระเหล่านั้นมาตกอยู่ที่ประชาชนในรูปของค่าไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือนนั่นเอง

       
       สถานการณ์นับวันยิ่งหนักข้อขึ้นทุกวัน โดยเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 ที่ตลาดนิวยอร์ก พบว่าราคาก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 2.43 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่ประเทศไทย ปตท.กลับขายเนื้อก๊าซธรรมชาติแพงเพิ่มขึ้นไปเป็นราคา 8.39 บาท/กิโลกรัม และจะยังคงมีนโยบายขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
       
        เช่นเดียวกันกับกรณี ปตท. ได้ลงทุนสร้างโรงกลั่นขนาดใหญ่เป็นบริษัทในเครือที่ชื่อ บริษัท โรงกลั่นระยอง จำกัด ประมาณ 50,000 ล้านบาท พอหักค่าเสื่อมทางบัญชีปีละ 10% ผ่านไป 10 ปี ในปี พ.ศ.2554 ปตท. จึงบันทึกมูลค่าทางบัญชีโรงกลั่นแห่งนี้ก่อนการแปรรูปเพียงแค่ 1 บาท
       
        แต่ความเป็นจริงโรงกลั่นดังกล่าวสามารถดำเนินการต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 15 ปี อีกทั้งธุรกิจการกลั่นน้ำมันต้องมีใบอนุญาตจากรัฐบาลและต้องผ่านกฎหมายควบคุมสิ่งแวดล้อม จึงย่อมไม่มีทางที่จะมีมูลค่าเหลือ 1 บาท ได้ โดยต่อมา บริษัท โรงกลั่นระยอง จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 มูลค่ากลับเพิ่มขึ้นสูงขึ้นมากกว่า 50,000 ล้านบาท
       
        จากทรัพย์สินโรงกลั่นที่ถูกประเมินว่าไม่มีค่าก่อนการแปรรูป กลับราคาประเมินใหม่งอกเพิ่มพูนขึ้นมาอย่างมหาศาล และทุกวันนี้ ปตท.ก็เข้าถือหุ้นในโรงกลั่นจำนวนมาก จนกลายเป็นกรรมการและผู้มีอิทธิพลต่อตลาดโรงกลั่นที่แท้จริงในการสร้างกำไรอย่างมหาศาลให้กับผู้ถือหุ้น
       
        ราคาน้ำมันเบนซิน 91 เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555 ราคา 43.45 บาทต่อลิตร แต่ค่าแรงขั้นต่ำที่จะได้วันละ 300 บาท ถ้าแรงงานไทยทำงานได้ 1 วัน ซื้อน้ำมันได้เพียง 6.9 ลิตร หรือทำงาน 1 ชั่วโมงซื้อน้ำมันได้ไม่ถึงลิตร
      
        เปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่บริโภคน้ำมันมากที่สุด และนำเข้าน้ำมันจากทั่วโลกมากที่สุด ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555 ราคาน้ำมันเบนซินธรรมดาอยู่ที่ 29.51 บาทต่อลิตร (ถูกกว่าประเทศไทย 13.94 บาทต่อลิตร หรือคนไทยใช้น้ำมันแพงกว่าคนอเมริกัน 47.24%) แต่ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 7.25 เหรียญสหรัฐต่อชั่วโมง หรือคิดได้เป็นประมาณ 2,047 บาทต่อวัน หมายความว่าแรงงานอเมริกันทำงาน 1 วันได้น้ำมัน 69.36 ลิตร ( 10 เท่าของไทย) หรือทำงาน 1 ชั่วโมงได้น้ำมัน 8.67 ลิตร

       
        ผลสำรวจของ บริษัท นีลสัน (ประเทศไทย) พบว่ากลุ่มธุรกิจ ปตท.เมื่อปี 2554 ได้ใช้จ่ายในการโฆษณา 699.8 ล้านบาท (อยู่ในอันดับที่ 5 ของสินค้าที่มีการโฆษณามากที่สุด) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ประมาณ 12% และเป็นงบประมาณที่กระจายไปในสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ และในอินเทอร์เน็ต ให้หลงใหลเชื่อกับภาพลักษณ์ ปตท. ซึ่งแท้ที่จริงกำลังแสวงหากำไรอย่างไม่รู้จบสิ้น
       
        จึงไม่น่าแปลกใจนัก ที่สื่อมวลชนกระแสหลักต่างไม่มีใครกล้าที่จะแตะเรื่องความไม่ชอบมาพากลของ ปตท. เพราะต่างก็เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ให้กับสื่อมวลชนแทบทุกค่าย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสื่อมวลชนเหล่านั้นไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่าง “ผลประโยชน์ทางธุรกิจ” กับ “ผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ”
      
        บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ถือหุ้น 100% ดำเนินธุรกิจเล่าข่าวมาเป็นเวลานานและมีผู้ชมจำนวนมาก หากนำเสนอเรื่องนี้ให้สังคมได้รับทราบ ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอยู่ไม่ใช่น้อย

       
        สำนักข่าวอิศรา ได้รายงานว่า ธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง (ผู้ถือหุ้นของ ปตท.) เป็นขุมทรัพย์ของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดยตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ได้รับการว่าจ้างประชาสัมพันธ์จากธนาคารออมสินผ่านรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” และ “เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์” ถึง 16 ครั้ง (สัญญา) เป็นเงิน 89 ล้านบาท จากที่ได้รับว่าจ้างจากหน่วยงานของรัฐทั้งสิ้น 3 แห่ง รวม 19 ครั้ง 105 ล้านบาท
      
        รวมถึง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เคยจ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทางโทรทัศน์วงเงิน 11 ล้านบาท เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553
      
        บริษัท ไร่ส้ม จำกัด มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท แต่ผลประกอบการมีรายได้ 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2553) รวม 1,416 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5 ปี รวม 563 ล้านบาท!!! 

       
        ลำพังธุรกิจเช่นนี้ถือว่าธุรกิจของนายสรยุทธมีกำไรมหาศาลเป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองไทยอยู่แล้ว (ต่อให้ตกงานแล้วใช้เงินส่วนที่เหลือทั้งหมดก็ยังมีอยู่อย่างมากมาย) จึงอยู่ที่ว่าเรื่องใหญ่และประชาชนเดือดร้อนขนาดนี้ คนที่เรียกว่าสื่อมวลชนที่ร่ำรวยขนาดนี้จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบเรื่องนี้เปิดเผยข้อเท็จจริงคืนกำไรให้กับประชาชนได้หรือไม่?
       
        ผลประโยชน์ทางธุรกิจไม่ใช่การสร้างบุญคุณและไม่มีการติดค้างกัน เพราะ ปตท. ก็ได้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสินค้าตัวเอง สื่อมวลชนก็ได้ค่าโฆษณานั้นเป็นการตอบแทนที่สุจริต
      
       แต่การละเลยการตรวจสอบในฐานะสื่อมวลชนต่างหาก ที่ถือเป็นการขายจิตวิญญาณทรยศต่อหน้าที่ของสื่อมวลชนที่จะทำหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน!!! 



ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th
โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ :1 พฤษภาคม 2555 17:25 น.